รายงานการประเมินผลโครงการพัฒนาผู้เรียนด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริในโรงเรียนร่มโพธิ์วิทยา อำเภอขุนหาญ
จังหวัดศรีสะเกษ
ผู้ประเมิน : นายธงชัย เหมเกียรติกุล
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการ วิทยฐานะ ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
ปีการศึกษา : 2559
บทคัดย่อ
การประเมินครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อประเมินบริบท (Context Evaluation) ของโครงการพัฒนาผู้เรียน 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ของโครงการพัฒนาผู้เรียน 3) เพื่อประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) ของโครงการพัฒนาผู้เรียน และ 4) เพื่อประเมินผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการพัฒนาผู้เรียนด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ในโรงเรียนร่มโพธิ์วิทยา อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ
กลุ่มเป้าหมายในการประเมินครั้งนี้ คือ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครู นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน โรงเรียนร่มโพธิ์วิทยา อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินได้แก่ แบบสอบการประเมินการประเมินผลโครงการด้วยการพัฒนาผู้เรียนน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง แนวพระราชดำริ ในโรงเรียนร่มโพธิ์วิทยา อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 1 ฉบับ แบ่งเป็น 5 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 สถานภาพผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับบริบทของโครงการ ตอนที่ 3 แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยนําเข้าของโครงการ ตอนที่ 4 แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการของโครงการ ตอนที่ 5 แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับผลผลิตของโครงการ ได้แก่ 1) ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน จำแนกเป็น 5 กิจกรรม และ 2) ด้านความคิดเห็นที่มีต่อการประเมินผลโครงการพัฒนาผู้เรียนด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง แนวพระราชดำริ ในโรงเรียนโรงเรียนร่มโพธิ์วิทยา จำนวน 12 รายการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า
1.ด้านบริบท ผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับความสอดคล้องของวัตถุประสงค์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด คือด้านวัตถุประสงค์โครงการสอดคล้องกับนโยบายของพรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ( = 4.58 SD = .55 ) และด้านวัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับความต้องการของโรงเรียนมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.36 SD = .64)
2.ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ พบว่าภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( = 4.41 SD = .60)
พิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ด้านบุคลากรในการดำเนินโครงการ มีจำนวนเพียงพอ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.48 SD = .56) และด้านงบประมาณในการดำเนินโครงการมีเพียงพอ มีเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.27 SD = .62)
3. ด้านกระบวนการ เมื่อพิจารณาในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.36 SD = .64) พิจารณาเป็นรายข้อพบว่า มีการวางแผนดำเนินโครงการสู่การปฏิบัติ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.45 SD = 61) โรงเรียนมีการขยายผลการปฏิบัติกิจกรรมลงสู่ชุมชน/เผยแพร่ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.27 SD = .62)