LASTEST NEWS

27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท 

การพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบหลากหลายวิธีการเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพ

usericon

ชื่อเรื่อง         การพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบหลากหลายวิธีการเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพ
    การทำวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนร่มโพธิ์วิทยา
    สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ
ผู้รายงาน    นายธงชัย เหมเกียรติกุล
พุทธศักราช    2559

บทคัดย่อ
การรายงานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย ดังต่อไปนี้ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบหลากหลายวิธีการ เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนร่มโพธิ์วิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ 2) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการนิเทศแบบหลากหลายวิธีการ เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู โรงเรียนร่มโพธิ์วิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ ด้วยวิธีการ 2.1) ประเมินสมรรถภาพในการนิเทศแบบหลากหลายวิธีการ ของครูผู้นิเทศ 2.2) ประเมินความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียน ของครูผู้นิเทศ 2.3) ประเมินความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการนิเทศแบบหลากหลายวิธีการ ของครูผู้รับการนิเทศ 2.4) ประเมินสมรรถภาพการทำวิจัยในชั้นเรียน ของครูผู้รับการนิเทศ 2.5) ประเมินความพึงพอใจของครูผู้รับการนิเทศที่มีต่อรูปแบบการนิเทศแบบหลากหลายวิธีการ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ครูและนักเรียนโรงเรียนร่มโพธิ์วิทยา ประกอบด้วยครูผู้สอน จำนวน 30 คน นักเรียน จำนวน 295 คน กลุ่มตัวอย่าง เป็นครูผู้สอนจำแนกตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ละ 2 คน เลือกโดยการสุ่มแบบอาสาสมัคร (Volunteers Sampling) จำแนกเป็น ครูผู้นิเทศ จำนวน 5 คน มี 2 คนที่ทำหน้าที่ครูผู้นิเทศและครูผู้รับการนิเทศ ครูผู้รับการนิเทศ 16 คน (ซึ่งครูที่ทำหน้าที่เป็นผู้นิเทศประกอบด้วย รองผู้อำนวยการ หัวหน้าฝ่ายบริหารงานวิชาการ และครู) และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1,2,3,4,5 และ 6 จำนวน 16 ห้องเรียน เลือกโดยครูผู้สอนที่สมัครใจเข้าร่วมวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์แบบทดสอบ แบบสอบถาม แบบสังเกต และประเด็นสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (x ̅) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่า Wilcoxon Signed Rank Test ค่า t-test และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)     
ผลการวิจัย พบว่า
การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบหลากหลาย วิธีการเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู โรงเรียนร่มโพธิ์วิทยา ปรากฏผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
    รูปแบบการนิเทศแบบหลาหลายวิธีการ เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการทำวิจัยในชั้นเรียนครู โรงเรียนร่มโพธิ์วิทยา มีองค์ประกอบได้แก่ หลักการ คือ การนิเทศการสอนเน้นกระบวนการนิเทศที่เป็นระบบ สัมพันธ์กัน โดยคำนึงถึงความแตกต่างของครูด้านความรู้ ความสามารถ และทักษะที่สำคัญที่ต้องการพัฒนา โดยใช้วิธีการนิเทศที่หลากหลาย เหมาะสม กับครูแต่ละคนเพื่อให้การนิเทศเกิดประสิทธิภาพสูงสุด และกระบวนการนิเทศ 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่1 Classifying : C การคัดกรองระดับความรู้ ความสามารถ ทักษะที่สำคัญเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้และการวิจัยในชั้นเรียน เพื่อจัดกลุ่มครูและเลือกวิธีการนิเทศที่เหมาะสมกับการจัดการเรียนรู้และการวิจัยในชั้นเรียน เพื่อจัดกลุ่มครูและเลือกวิธีการนิเทศ ที่เหมาะสมสำหรับครูแต่ละกลุ่ม ขั้นตอนที่ 2 Informing : I การให้ความรู้ก่อนการนิเทศ ขั้นตอนที่ 3 Proceeding : P การดำเนินงาน ได้แก่ 3.1) การประชุมก่อนการสังเกตการสอน (Pre conference) 3.2) การสังเกตการณ์สอน (Observation) 3.3) การประชุมหลังการสังเกตการสอน ( Post Conference) ขั้นตอนที่ 4 Evaluating : E การประเมินผลการนิเทศ โดย มีการกำกับ ติดตาม (Monitoring) อย่างต่อเนื่องทุกขั้นตอนเพื่อให้การดำเนินการนิเทศเกิดประสิทธิภาพและองค์ประกอบด้านเงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ ผลการตรวจสอบความสมเหตุ
สมผลเชิงทฤษฎี ความเป็นไปได้ และความสอดคล้องของรูปแบบการนิเทศแบบหลากหลายวิธีการ ซีไอพีอี (CIPE Model) โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่าความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎี มีค่าดัชนีความสอดคล้องรายข้อ เท่ากับ 1.00 ความเป็นไปได้ของรูปแบบ มีค่าดัชนีความสอดคล้องรายข้อ ระหว่าง 0.80-1.00 และความสอดคล้องของรูปแบบมีค่าดัชนีความสอดคล้องรายข้อ ระหว่าง 0.80-1.00 ทั้งนี้เนื่องมากจากขั้นตอนการพัฒนารูปแบบ การนิเทศแบบหลากหลายวิธีการมีกระบวนการที่เป็นระบบ มีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันทุกองค์ประกอบ ซึ่งก็คือ ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลลัพธ์ที่คาดหวัง
ผลการใช้รูปแบบการนิเทศแบบหลากหลายวิธีการ เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนร่มโพธิ์วิทยา พบว่า ครูผู้นิเทศมีสมรรถภาพในการนิเทศ อยู่ในระดับสูงมาก ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการนิเทศแบบหลากหลายวิธีการ ครูผู้นิเทศมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยหลังการใช้รูปแบบการนิเทศ มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการนิเทศวิธีการของครูผู้รับการนิเทศ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการนิเทศ แตกต่างกันอย่างมีสมรรถภาพการทำวิจัยในชั้นเรียนอยู่ในระดับสูงมาก และมีความพึงพอใจของต่อรูปแบบการนิเทศแบบหลากหลายวิธีการของครูผู้รับการนิเทศ อยู่ในระดับมากที่สุด
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^