LASTEST NEWS

27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบซิปปาร่วมกับการใช้แหล่งเรียนรู้ฯ

usericon

ชื่อเรื่อง         การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบซิปปาร่วมกับการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นเพื่อพัฒนาความสามารถในการเขียนสารคดีท่องเที่ยวในท้องถิ่นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ผู้วิจัย     นางสยามนต์ บุญชิต
ตำแหน่ง    ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียน    ตระกาศประชาสามัคคี ตำบลตระกาจ อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
สังกัด องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
ปีที่พิมพ์ 2558
บทคัดย่อ
    การวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบซิปปาร่วมกับการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น เพื่อพัฒนาความสามารถในการเขียนสารคดีท่องเที่ยวในท้องถิ่น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐาน สภาพบริบทด้านแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น และความต้องการจำเป็นในการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา ร่วมกับการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น เพื่อพัฒนาความสามารถในการเขียนสารคดีท่องเที่ยวในท้องถิ่น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบซิปปา ร่วมกับการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น เพื่อพัฒนาความสามารถในการเขียนสารคดีท่องเที่ยวในท้องถิ่น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบซิปปาร่วมกับการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น เพื่อพัฒนาความสามารถในการเขียนสารคดีท่องเที่ยวในท้องถิ่นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และ 4) เพื่อประเมินรูปแบบการเรียนการสอนแบบซิปปาร่วมกับการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น เพื่อพัฒนาความสามารถในการเขียนสารคดีท่องเที่ยวในท้องถิ่นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
    กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วยนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6โรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี ปีการศึกษา 2558 จำนวน 30 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัย ด้านการวัดผลและประเมินผล ด้านการนิเทศ และการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย จำนวน 5 ท่าน เจ้าของแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น จำนวน 10 คน ครูผู้สอนวิชาภาษาไทยระดับชั้นมัธยมศึกษาเพื่อร่วมถอดบทเรียนในการประเมินรูปแบบการเรียนการสอน จำนวน 5 คน ดำเนินการวิจัยโดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงพัฒนา (Research and Development)
    เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถามเกี่ยวกับความพร้อมของสภาพบริบทด้านแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น โรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี จำนวน 1 ฉบับ 2) แบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับความพร้อมของสภาพบริบทด้านแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น โรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี จำนวน 1 ฉบับ 3) แบบสอบถามความต้องการจำเป็นในการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบซิปปา จำนวน 1 ฉบับ 4) รูปแบบการเรียนการสอนแบบซิปปาร่วมกับการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น เพื่อพัฒนาความสามารถในการเขียนสารคดีท่องเที่ยวในท้องถิ่น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และเอกสารประกอบรูปแบบ 5) แบบทดสอบวัดความสามารถในการเขียนสารคดีท่องเที่ยว จำนวน 1 ฉบับ 6) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนแบบซิปปาร่วมกับการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น เพื่อพัฒนาความสามารถในการเขียนสารคดีท่องเที่ยวในท้องถิ่น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 1 ฉบับ และ 7) แบบบันทึกการถอดบทเรียนการประเมินรูปแบบการเรียนการสอนแบบซิปปาร่วมกับการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น เพื่อพัฒนาความสามารถในการเขียนสารคดีท่องเที่ยวในท้องถิ่น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
    การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานหาประสิทธิภาพของรูปแบบโดยใช้สูต E1/E2 และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยการทดสอบที (t-test Dependence Sample) ในส่วนของข้อมูลเชิงคุณภาพผู้วิจัยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ (Content Analysis)

ผลการวิจัยพบว่า
    1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน เป็นการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ผลการศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ประกอบด้วย สาระการอ่าน สาระการเขียน สาระการฟัง การดู และการพูด สาระหลักการใช้ภาษาไทย และสาระวรรณคดีและวรรณกรรม ผลการศึกษาสภาพความพร้อมของบริบทแหล่งเรียนรู้ภายในท้องถิ่นและความต้องการจำเป็นในการเรียนรู้ภาษาไทยแบบซิปปาได้ข้อสรุปว่า หลักการ ทฤษฎีต่างๆ ที่ผู้วิจัยศึกษาเพื่อใช้เป็นกรอบแนวคิดในการสร้างและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนมีความเหมาะสมสอดคล้องกับรูปแบบที่สร้างขึ้น และเมื่อศึกษาสภาพความพร้อมของบริบทแหล่งเรียนรู้ภายในท้องถิ่น โรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี พบว่า แหล่งเรียนรู้มีความพร้อมและเอื้อต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนนี้ ทั้งเจ้าของแหล่งเรียนรู้ยังยินดีให้ความร่วมมือ และพร้อมอำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ แก่นักเรียน นอกจากนี้ ผลการศึกษาความต้องการจำเป็นในการเรียนรู้แบบซิปปา พบว่า นักเรียนมีความต้องการจำเป็นในการเรียนรู้ แบบการซิปปาอยู่ในระดับมากที่สุด
    2. ผลการสร้างและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบซิปปาร่วมกับการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น เพื่อพัฒนาความสามารถในการเขียนสารคดีท่องเที่ยวในท้องถิ่น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 พบว่า ผู้เชี่ยวชาญทั้ง 5 ท่าน มีความคิดเห็นว่าทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความเหมาะสมสอดคล้องของหลักการทฤษฎีต่าง ๆ ด้านความเป็นไปได้ของรูปแบบ และด้านความเป็นประโยชน์ของรูปแบบ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และโดยภาพรวม รูปแบบการเรียนการสอนแบบซิปปาร่วมกับการใช้ แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น เพื่อพัฒนาความสามารถในการเขียนสารคดีท่องเที่ยว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่สร้างขึ้นมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar = 4.64)
    3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบซิปปาร่วมกับการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น เพื่อพัฒนาความสามารถในการเขียนสารคดีท่องเที่ยวในท้องถิ่น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 พบว่า นักเรียนได้คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการเขียนสารคดีท่องเที่ยวในท้องถิ่นก่อนเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนนี้ เท่ากับ 23.23 และได้คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการเขียนสารคดีท่องเที่ยวในท้องถิ่นหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนนี้ เท่ากับ 41.77 จากคะแนนเต็ม 48 คะแนน เมื่อพิจารณาผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนแบบซิปปาร่วมกับการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น เพื่อพัฒนาความสามารถในการเขียนสารคดีท่องเที่ยวในท้องถิ่น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 พบว่า รูปแบบมีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 86.41/87.01 ซึ่งมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
    4. ผลการประเมินรูปแบบการเรียนการสอนแบบซิปปาร่วมกับการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น เพื่อพัฒนาความสามารถในการเขียนสารคดีท่องเที่ยวในท้องถิ่น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ผู้วิจัยพิจารณาอยู่ 3 ประเด็น กล่าวคือ 1) ประเด็นผลผลิต คือความสามารถของนักเรียนด้านการเขียนสารคดี 2) ประเด็นความพึงพอใจของผู้ใช้รูปแบบ คือความพึงพอใจของนักเรียน และ 3) ประเด็นการนำไปใช้และพัฒนาต่อเนื่อง ศึกษาจากครูผู้สอนระดับมัธยมศึกษา จำนวน 5 ท่าน พบว่า ความสามารถในการเขียนสารคดีท่องเที่ยว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนแบบซิปปาร่วมกับการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนประเด็นความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนรู้ พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี มีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนแบบซิปปาร่วมกับการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น เพื่อพัฒนาความสามารถในการเขียนสารคดีท่องเที่ยวในท้องถิ่น อยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar= 4.59) และผลการถอดบทเรียนเพื่อประเมินรูปแบบ โดยสรุป พบว่า ครูผู้สอนภาษาไทยเห็นพ้องต้องกันว่ารูปแบบการเรียนการสอนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีความเป็นประโยชน์ และเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ เหมาะกับการพัฒนานักเรียนและสามารถต่อยอด ประยุกต์ในเนื้อหาอื่นๆ และรายวิชาอื่นๆ ได้อย่างดี
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^