รายงานการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบโมเดลซิปปา (CIPPA MODEL)
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง การคูณ
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านสวนดอกท่าขันทองสามัคคี
ชื่อผู้ศึกษา : นางลินลดา พลรัฐ
กลุ่มสาระ : คณิตศาสตร์
ปีการศึกษา : 2559
การศึกษาครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบโมเดลซิปปา (CIPPA MODEL) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบโมเดลซิปปา (CIPPA MODEL) กับเกณฑ์ และศึกษาระดับความพึงพอใจในการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบโมเดลซิปปา (CIPPA MODEL)
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียน บ้านสวนดอกท่าขันทองสามัคคี อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงรายเขต 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 ที่ได้มาโดยวิธีการคัดเลือกแบบมีจุดประสงค์ (Purposive selection) จำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ และแบบสอบถามความพึงพอใจ ดำเนินการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบโมเดลซิปปา (CIPPA MODEL) เรื่อง การคูณ จำนวน 30 ชั่วโมง ใช้ One-Group Pretest-Posttest Design เป็นแบบแผนการวิจัย และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ Paired-Sample t-test และ One-Sample t-test
ผลการศึกษา พบว่า
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบโมเดลซิปปา (CIPPA MODEL) ในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้เรื่อง การคูณ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สูงกว่าก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นไปตามสมมติฐานการศึกษา ข้อที่ 1
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบโมเดลซิปปา (CIPPA MODEL) ในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้เรื่อง การคูณ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 65 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นไปตามสมมติฐานการศึกษา ข้อที่ 2
3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบโมเดลซิปปา (CIPPA MODEL) ในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้เรื่อง การคูณ โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นไปตามสมมติฐานการศึกษา ข้อที่ 3