LASTEST NEWS

27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท 

วิจัยปฏิบัติการการปฏิรูปการเรียนรู้ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งช

usericon

ชื่อเรื่องวิจัย วิจัยปฏิบัติการการปฏิรูปการเรียนรู้ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 โรงเรียนเทศบาล 3 ( บ้านนาตาล่วง )
ผู้วิจัย นางสุภาวดี อ่วมคง
ปีที่ทำวิจัย 2559
บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิจัยปฏิบัติการปฏิรูปการเรียนรู้ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 2) ศึกษาผลของการดำเนินงานปฏิรูปการเรียนรู้ 3) ศึกษาความพึงพอใจ ของผู้มีส่วนได้เสียกับการจัดการศึกษาของโรงเรียน ประชากรมีคือนักเรียนในระดับอนุบาล และประถมศึกษา ปีการศึกษา 2559 จำนวน 404 คน ผู้ปกครอง 404 คน คณะกรรมการสถานศึกษา 15 คน บุคลากรโรงเรียน 26 คน รวมทั้งสิ้น 890 คน กลุ่มตัวอย่าง ผู้ให้ข้อมูลมี 490 คน เป็นผู้ปกครอง 217 คน นักเรียน 273 คน คณะกรรมการสถานศึกษา 15 คน บุคลากรโรงเรียน 26 คน เครื่องมือที่ใช้มี 1) กลุ่มผู้วิจัยและผู้ร่วมวิจัย มีผู้ปกครอง 25 คน คัดเลือกแบบเจาะจงจากชุมชนในเขตบริการ 25 ชุมชน ชุมชนละ 1 คน คณะกรรมการสถานศึกษา 12 คน คัดเลือกแบบเจาะจงจากคณะกรรมการสถานศึกษาที่ไม่ใช่บุคลากรโรงเรียน และบุคลากรโรงเรียน 26 คน รวมทั้งสิ้น 63 คน 2) เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลมี 11 ฉบับ คือ (1) แบบสัมภาษณ์ 7 ฉบับ (2) แบบสอบถาม 2 ฉบับ (3) แบบบันทึก 1 ฉบับ และ (4) แบบสังเกต 1 ฉบับ ตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) โดยหาค่าความสอดคล้องระหว่างข้อสอบแต่ละข้อกับจุดประสงค์ หรือ เนื้อหา (Index of Item Objective Congruence หรือ IOC) อยู่ในเกณฑ์ที่ใช้ได้ คือมากกว่า 0.5 ขึ้นไป และตรวจสอบหาค่าความเชื่อมั่นด้วยวิธีการของครอนบาค (Cronbach) หรือหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟา (Alpha Coefficient) ได้ค่าอัลฟ่าทั้งฉบับอยู่ระหว่าง 0.709 - 0.965 เมื่อเก็บข้อมูลมาแล้วได้ตรวจสอบคุณภาพข้อมูล โดยวิธีการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า (Triangulation Technique) สถิติที่ใช้ในการศึกษา คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1) รูปแบบการวิจัย ใช้รูปแบบการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) ประกอบด้วยขั้นตอนการวางแผน (Planning) การปฏิบัติ (Action) การสังเกตตรวจสอบ (Observation ) และการสะท้อนผล (Reflection) จำนวน 2 วงรอบ โดย การพัฒนาในวงจรรอบที่ 1 เมื่อดำเนินการปฎิบัติครบทุกกิจกรรมแล้ว พบว่ากลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ ความเข้าใจแต่ยังมีปัญหาที่จะต้องพัฒนาเพิ่มเติม คือ (1) อบรมเชิงปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียน
เป็นสำคัญ (2) อบรมเชิงปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน (3) อบรมเชิงปฏิบัติการการวิจัยในชั้นเรียน (4) อบรมเชิงปฏิบัติการการวัดผลประเมินผลที่เน้นเรียนเป็นสำคัญ (5) ประชุมปฏิบัติการนิเทศสนับสนุนการเรียนการสอน ซึ่งก็ได้นำผลสะท้อนการปฏิบัติดังกล่าวไปสู่การพัฒนาในวงรอบที่ 2 โดยเมื่อพัฒนาเสร็จแล้วพบว่า การดำเนินงานปฏิรูปการเรียนรู้ทุกด้านบรรลุตามเป้าหมายของกิจกรรม
2) ผลการดำเนินการปฏิรูปการเรียนรู้ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 อยู่ในระดับมาก โดยมีผลการดำเนินงานรายด้าน มีดังนี้ (1) ด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ ผลการจัดกระบวนการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก (2) ด้านสื่อการเรียนการสอนและแหล่งเรียนรู้ มีการพัฒนาการใช้สื่อการสอนและแหล่งเรียนรู้เพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้ของโรงเรียนได้ระดับมาก (3) ด้านการประเมินผลการเรียนรู้ ผลปรากฏว่าครูทำการประเมินผลตามแนวปฏิรูปการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก (4) ด้านการสร้างและการพัฒนาหลักสูตร มีการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้เหมาะสมกับความต้องการของสังคมและท้องถิ่น สอดคล้องกับความสนใจ และความถนัดของผู้เรียน อยู่ในระดับมาก (5) ด้านการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา โรงเรียนได้สร้างความสัมพันธ์กับชุมชน โดยชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของโรงเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด (6) ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ มีการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ในโรงเรียนอยู่ในระดับมาก (7) ด้านการพัฒนาบุคลากร มีการพัฒนาครูผู้สอนหลายรูปแบบ หลายวิธีการและต่อเนื่อง อยู่ในระดับมาก
3) ความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้เสียกับการจัดการศึกษาของโรงเรียน พบว่า มีความ พึงพอใจต่อการปฏิรูปการศึกษาของโรงเรียน ในด้านการปฏิรูปการเรียนรู้ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 รวม 7 ด้าน เฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^