LASTEST NEWS

27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท 

การประเมินโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา

usericon

บทคัดย่อ
ผลงาน    การประเมินโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา
โรงเรียนเทศบาล ๓ (เทศบาลสงเคราะห์) สังกัดเทศบาลเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี
ผู้ประเมิน    นายอัศวิน คงเพ็ชรศักดิ์
ปีที่ประเมิน    2559
    
การประเมินโครงการโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการดำเนินงาน โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPP Model เพื่อประเมินด้านสภาวะแวดล้อม ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย ครู สายงานผู้บริหารและผู้สอน จำนวน 40 คน นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3 จำนวน 191 คน และผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3 จำนวน 191 คน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรที่ปฏิบัติงานตามโครงการ นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 10 คน วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้จาก (1) ข้อมูลจากเอกสาร (Document) (2) ข้อมูลจากแบบสอบถาม (3) ข้อมูลภาคสนาม (Field) โดยใช้การสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participant Observation) และการสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ (Informal Interview) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินเป็นแบบสอบถาม จำนวน 6 ฉบับ ที่ผู้ประเมินสร้างขึ้น โดยใช้รูปแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) แบบ 5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณนาความ (Description Analysis) และการวิเคราะห์เชิงอธิบายความ (Explanatory Analysis)
ผลการประเมิน
1. ด้านสภาวะแวดล้อม พบว่า โครงการมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด เมื่อพิจารณาในภาพรวม พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก จากการสัมภาษณ์บุคคลป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการ พบว่า ก่อนเริ่มโครงการนักเรียนมีการร่วมกิจกรรมป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด แต่ด้วยสภาพสังคมปัจจุบันทำให้เด็กและเยาวชนมีความเสี่ยงและสามารถเข้าถึงยาเสพติดได้ง่ายขึ้น จึงควรมีการส่งเสริมในการให้ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติดในปัจจุบัน การป้องกันตนเองและผู้อื่นให้ห่างไกลจากยาเสพติด สามารถจำแนกประเภทของยาเสพติดได้ ดูแลสุขภาพทั้งทางกายและใจให้แข็งแรง มีความรู้ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ทางด้านศิลปะ ดนตรี นาฎศิลป์ กีฬา นันทนาการ เพื่อใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์และพัฒนาสู่ความเป็นเลิศในอนาคต
2. ด้านปัจจัยเบื้องต้น พบว่า โครงการมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด เมื่อพิจารณาในภาพรวม พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด จากการสัมภาษณ์บุคคลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการ พบว่า การจัดโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา ในครั้งนี้ มีความพร้อมด้านสถานที่ งบประมาณ บุคลากร และผู้บริหารสถานศึกษา
3. ด้านกระบวนการ ขั้นเตรียมการ และขั้นดำเนินงาน พบว่า โครงการมีความพร้อมและเหมาะสมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนขั้นประเมินผลและรายงาน พบว่า อยู่ในระดับมาก ซึ่งสอดคล้องกับผลการสัมภาษณ์บุคคลต่าง ๆ พบว่า การจัดโครงการครั้งนี้ มีการเตรียมการเป็นอย่างดีทุก ๆ ด้าน ในขั้นตอนการดำเนินงาน พบว่า สามารถดำเนินการไปได้ตามขั้นตอน ในขั้นตอนประเมินผลและรายงาน พบว่า มีการประเมินผลเพื่อสรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ
4. ด้านผลผลิต พบว่า โครงการมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียน พบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก และผลการประเมินผลผลิตด้านพฤติกรรมปฏิบัติตนให้ห่างไกลจากยาเสพติด พบว่า มีระดับพฤติกรรมปฏิบัติตนให้ห่างไกลจากยาเสพติดอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาผลในแต่ละด้าน พบว่าทุกด้าน ได้แก่ ด้านความสามารถในการป้องกันตนเองจากสิ่งเสพติด ด้านการดูแลสุขภาพและการออกกำลังกาย และด้านการเสริมสร้างผลงานจากการร่วมกิจกรรมด้านศิลปะ ดนตรี นาฎศิลป์ กีฬา นันทนาการ มีระดับพฤติกรรมปฏิบัติตนให้ห่างไกลจากยาเสพติดอยู่ในระดับมากที่สุด จากการสัมภาษณ์บุคคลต่างๆ ที่เกี่ยวกับผลผลิต พบว่า กิจกรรมการให้ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติด เป็นที่น่าพึงพอใจทั้งต่อตัวครูและต่อนักเรียน ผลกระทบที่เกิดจากการดำเนินงานโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา เกิดขึ้นทั้งต่อนักเรียน ต่อครูผู้รับผิดชอบโครงการและต่อชุมชน

ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^