รายงานผลการพัฒนาทักษะการแต่งกลอนสุภาพ โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส
ผู้วิจัย นางปราณี คนธรักษ์
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
สังกัด โรงเรียนเทศบาลวัดท้าวโคตร
เทศบาลนครนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช
ปีที่ศึกษา 2558
บทคัดย่อ
การพัฒนาทักษะการแต่งกลอนสุภาพ โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องคำกลอนสอนชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องคำกลอนสอนชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการแต่งกลอนสุภาพของนักเรียนก่อนและหลังเรียนโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องคำกลอนสอนชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังเรียนโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องคำกลอนสอนชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องคำกลอนสอนชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 ของโรงเรียนเทศบาลวัดท้าวโคตร ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 42 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 4 ชนิด ได้แก่ 1) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องคำกลอนสอนชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการแต่งกลอนสุภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5 เป็นข้อสอบแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 3) คู่มือการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องคำกลอนสอนชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องคำกลอนสอนชีวิต เพื่อ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ดำเนินการวิจัยในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 20 ชั่วโมง โดยผู้วิจัยได้ให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน (Pre-test) จำนวน 30 ข้อ แล้วจัดการเรียนรู้โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องคำกลอนสอนชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยในระหว่างเรียนได้ให้นักเรียนทำแบบทดสอบย่อยจำนวน 6 ครั้ง จากนั้นให้นักเรียนทำแบบทดสอบวัด ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (Post-test) จำนวน 30 ข้อ และให้นักเรียนตอบแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องคำกลอนสอนชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลจากการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) สถิติที่ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ ได้แก่ การหาค่าความตรงของเครื่องมือ โดยการคำนวณค่าดัชนีความสอดคล้อง (Item-Objective Congruence index: IOC) ค่าความยาก (p) ค่าอำนาจจำแนก ( r ) ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบโดยสูตร KR-20 ของคูเดอร์ริชาร์ดสัน (Kuder Richardson’s KR-20) และหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามความพึงพอใจโดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค (Cronbach’s coefficient alpha) สถิติที่ใช้ในการหาประสิทธิภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องคำกลอนสอนชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ใช้การหาค่า E1 และ E2 เปรียบเทียบทักษะการแต่งกลอนสุภาพของนักเรียนก่อนและหลังเรียนโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องคำกลอนสอนชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยค่าเฉลี่ยร้อยละ เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องคำกลอนสอนชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยสถิติทดสอบ t-test แบบ dependent และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องคำกลอนสอนชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องคำกลอนสอนชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.65/83.50 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80
2. ผลการเปรียบเทียบทักษะการแต่งกลอนสุภาพของนักเรียนก่อนและหลังเรียนโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องคำกลอนสอนชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่านักเรียนมีทักษะการแต่งกลอนสุภาพสูงขึ้นร้อยละ 65
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องคำกลอนสอนชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบหลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องคำกลอนสอนชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยมีคะแนนเฉลี่ย 4.75 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.43 อยู่ในระดับมากที่สุด