กระบวนการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ เพื่อปลูกฝังคุ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อพัฒนากระบวนการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์เพื่อปลูกฝังคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนกลันทาพิทยาคม 2. เพื่อศึกษาผลการดำเนินการตามกระบวนการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์เพื่อปลูกฝังคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนกลันทาพิทยาคม 3. เพื่อประเมินความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อกระบวนการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์เพื่อปลูกฝังคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนกลันทาพิทยาคม ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า ประกอบด้วย 1. กลุ่มผู้ร่วมศึกษาค้นคว้า และกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ 1) กลุ่มผู้ร่วมศึกษาค้นคว้า (Research Participants) จำนวน 21 คน ประกอบด้วย ผู้ศึกษาค้นคว้า และผู้ร่วมศึกษาค้นคว้า 2) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเพิ่มเติม จำนวน 35 คน ประกอบด้วย คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน ตัวแทนผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 10 คน และตัวแทนสารวัตรนักเรียน จำนวน 10 คน 2. กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย นักเรียน จำนวน 407 คน และ ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 407 คน กรอบเนื้อหา คือ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ 2 ด้าน คือ ด้านการมีวินัยในตนเอง ประกอบด้วย ด้านการแต่งกาย ด้านการทำความเคารพ ด้านการรักษาความสะอาด ด้านการตรงต่อเวลา และด้านการเข้าแถวและเข้าคิวซื้ออาหาร ส่วนด้านใฝ่เรียนรู้ ประกอบด้วย ด้านความมุ่งมั่นในการเรียน ด้านความสนใจในการเรียน และด้านการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ (Appreciation Influence Control : AIC) เป็นกลยุทธ์ในการพัฒนาสร้างความตระหนัก และระดมความคิดในการวางแผนพัฒนาการดำเนินงาน จัดกิจกรรมที่พัฒนานักเรียน จำนวน 10 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมอบรมคุณธรรมจริยธรรม กิจกรรมโฮมรูมโดยครูที่ปรึกษา กิจกรรมช่วยเหลือนักเรียน กิจกรรมเยี่ยมบ้านนักเรียน กิจกรรมสารวัตรนักเรียน กิจกรรมประกวดนักเรียนต้นแบบ กิจกรรมประกวดเขตสะอาดดีเด่น กิจกรรมห้องสมุดมีชีวิต กิจกรรมสืบค้นด้วยอินเตอร์เน็ต และกิจกรรมค่ายทางวิชาการโดยใช้การนิเทศภายใน ส่วนวิธีการวิจัย ผู้ศึกษาใช้หลักการการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยใช้รูปแบบการวิจัยปฏิบัติการ (Action Research) ใช้ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า จำนวน 2 วงรอบ ประกอบด้วย วงรอบที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 28 มกราคม 2554 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2556 และวงรอบที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2556 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2557
Abstract
The purposes of the study were 1) to develop The Creative Participated Administration to Cultivate Desirable Attribute to the Students of Kalantapittayakhom School 2) to study the results of The Creative Participated Administration to Cultivate Desirable Attributes to the Students of Kalantapittayakhom School and 3) to assess the satisfaction of the school board, the teachers, the students and the parents on The Creative Participated Administration to Cultivate Desirable Attributes to the Students of Kalantapittayakhom School. The scope of the study comprised of 1. 84 of co-educational group and informative contributors. They were 1) 18 research participants; a researcher and 17 research participants 2) 35 additional informative contributors; 15 school board, 10 representatives of parents and 10 student inspectors. 2. The samples were 270 students and 270 parents. The content was two desirable attributes. The first one was the Self-discipline; Dressing, Paying Respect, Cleanliness, Punctuality, Assembly and Queuing for Food. The second was an Learning Enthusiastic; Learning Commitment, Learning Interest and Learning Self-pursuits by the learning process of Appreciation Influence Control: AIC. This process was a strategy used for constructing the awareness and brainstorming on ten student development activities’ plan. They were Ethics Training Activities, Home Room, Help & Care Activities, Home Visit Activities, Student Inspector, Trendy Students, Clean Areas Contest, Live Library, Internet for Learning and Academic Camp. The study procedure used was the action research for research and development. The study took two periods of conducting. The first conducting period was during January 28th, 2011 to March 31st, 2012. The second one was during May 16th, 2013 to March 31st, 2014.