การประเมินโครงการพัฒนาทักษะเพื่อความเป็นเลิศทางคณิตศาสตร์
ชื่อเรื่อง : การประเมิน โครงการพัฒนาทักษะเพื่อความเป็นเลิศทางคณิตศาสตร์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเมืองเตาวิทยาคม โดยใช้รูปแบบซิป (CIPP Model)
ผู้วิจัย : นางสุดชดาวรรณ จำปาทอง
หน่วยงาน : โรงเรียนเมืองเตาวิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการในครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อประเมินโครงการพัฒนาทักษะเพื่อความเป็นเลิศทางคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเมืองเตาวิทยาคม โดยใช้รูปแบบซิป (CIPP Model) โดยประเมิน ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต โดยประเมิน ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต ผู้ร่วมโครงการใน
ครั้งนี้ได้แก่ ครูผู้สอนกลุ่มสาระคณิตศาสตร์จำนวน 5 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเมืองเตาวิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม ปีการศึกษา 2559
จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้แบ่งออกเป็นดังนี้ 1. แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง 2. แบบสอบถาม แบ่งเป็น 2 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับผู้ตอบแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบสำรวจรายการ (Checklist) ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับบริบททั่วไป ปัจจัยเบื้องต้น กระบวนการดำเนินงาน ประเมินผลผลิต แบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ด้านบริบท
1.1 สภาพแวดล้อมของโรงเรียน มีพื้นที่อย่างเพียงพอในการดำเนินงาน ตามโครงการ และมีอาคาร ห้องเรียนในการจัดการเรียนการสอนตามโครงการที่ได้ตั้งไว้
1.2 นโยบายการดำเนินการโครงการส่งเสริมและพัฒนาทักษะเพื่อความ เป็นเลิศทางคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จากการสัมภาษณ์และการสังเกตพบว่า การเน้น
ให้มีกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะความเป็นเลิศทางคณิตศาสตร์ มีอุปกรณ์สื่อที่ใช้ในการ
จัดการเรียนรู้อย่างเหมาะสมและเพียงพอ
2. ปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า สภาพห้องเรียน มีความเหมาะสม งบประมาณที่ใช้ในการดำเนินโครงการมีทั้งจากเงินงบประมาณของโรงเรียนและบางส่วนได้รับการสนับสนุนจากโรงเรียน
3. ด้านกระบวนการดำเนินงานของโครงการ มีการบูรณาการกิจกรรมการเรียนรู้ ในสาระอื่นร่วมกันและนักเรียนที่อยู่นอกโครงการก็สามารถมาใช้เรียนรู้เพิ่มเติมทั้งสื่อ และกิจกรรมในห้องและจะหมุนเวียนกันมาเพื่อทำการศึกษาโดยใช้โครงการและกิจกรรมที่จัดไว้เป็นสื่อ
4. การประเมินผลของโครงการ จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า นักเรียนมีความสนใจในกิจกรรมโครงการเป็นอย่างมาก มีความสุข กระตือรือร้น ครูช่วยเหลือกิจกรรมก็มีความตั้งใจในการทำงานร่วมกับนักเรียน และมีการบูรณาการร่วมกันกับสาระการเรียนรู้อื่น ๆ
โดยสรุปพฤติกรรมทั่วไปของนักเรียน ครูและบุคลากรที่มีต่อโครงการ นักเรียนจะมีความสุข มีความสนใจและกระตือรือร้น มีความตั้งใจสูง ครูผู้รับผิดชอบก็มีความตั้งใจสูงในการผลักดันงานให้บรรลุเป้าหมาย เพื่อให้นักเรียนได้เกิดการเรียนรู้วัตถุประสงค์ของโครงการ และสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน
จากข้อมูลจากแบบสอบถามพบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการมีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้ตามโครงการ โดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด โดยนักเรียนมีความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (4.97) รองลงมาคือ นักเรียนมีการพัฒนาทักษะและสามารถนำไปใช้ในชีวิตได้ (4.95) นักเรียนมีการพัฒนาทักษะและสามารถนำไปใช้ในชีวิตได้ และครูมีการบูรณาการในทุกสาระการเรียนรู้ (4.93)