รายงานผลการทดลองใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง ศิลปะน่ารู้สู่ควา
ผู้รายงาน นายปรมัตถ์ ไชยชาญ
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการ
โรงเรียน โรงเรียนเทศบาล 1 (ในระบบสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง)
ปีการศึกษา 2557
บทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อสร้างเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง ศิลปะน่ารู้สู่ความยั่งยืน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง ศิลปะน่ารู้สู่ความยั่งยืน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีผลต่อการเรียนรู้ ด้วยเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง ศิลปะน่ารู้สู่ความยั่งยืน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 1 (ในระบบสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง) ปีการศึกษา 2557 จำนวน 35 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง ศิลปะน่ารู้สู่ความยั่งยืน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 4 เล่ม ได้แก่ เล่มที่ 1 เรียนรู้องค์ประกอบศิลป์ เล่มที่ 2 สีสันวรรณศิลป์ เล่มที่ 3 งานศิลป์กับสิ่งแวดล้อม และเล่มที่ 4 งานภาพพิมพ์แสนสวยแบบทดสอบก่อนเรียนและแบบทดสอบหลังเรียน และแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อเอกสารประกอบการเรียน เรื่องศิลปะน่ารู้สู่ความยั่งยืน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติวิเคราะห์ทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกับ (t-test dependent samples)
ผลการศึกษา พบว่า
1. เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง ศิลปะน่ารู้สู่ความยั่งยืน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ผู้รายงานสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพของกระบวนการเท่ากับ 82.52/82.10 ซึ่งมีประสิทธิภาพ
สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่ตั้งไว้
2. การเปรียบเทียบคะแนนทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียน พบว่า คะแนนทดสอบหลังเรียนสูงกว่าคะแนนทดสอบก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง ศิลปะน่ารู้สู่ความยั่งยืน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ผู้รายงานสร้างขึ้นอยู่ในระดับมากที่สุด