การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ วิชา สังคมศึกษา ส31101
ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ร่วมกับรูปแบบการสอนผังกราฟิก เพื่อพัฒนา
การคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4.
ผู้วิจัย ลัดดาวัลย์ จิ่มอาษา ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ
สถานศึกษา โรงเรียนพูวัดพิทยาคม อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น
สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น
ปีที่วิจัย ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันการจัดการเรียนรู้ และความต้องการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชา สังคมศึกษา ส31101 เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ วิชาสังคมศึกษา ส31101 โดยใช้ทฤษฎี คอนสตรัคติวิสต์ ร่วมกับรูปแบบการสอนโดยใช้ผังกราฟิก เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) ทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ วิชา สังคมศึกษา ส31101 โดยใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ร่วมกับรูปแบบการสอนโดยใช้ผังกราฟิก เพื่อพัฒนา
การคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 4) เพื่อประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้ วิชา สังคมศึกษา ส31101 โดยใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ร่วมกับรูปแบบการสอนโดยใช้ผังกราฟิกเพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนพูวัดพิทยาคม อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น จำนวน 28 คน ซึ่งได้มาจากการการเลือกแบบเจาะจง การวิจัยใช้รูปแบบกลุ่มทดลองกลุ่มตัวอย่างเดียว มีการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบวัดการคิดวิเคราะห์ และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการทดสอบลำดับเครื่องหมายแบบจับคู่ของวิลคอกซัน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1) ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันการจัดการเรียนรู้ พบว่า การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในปัจจุบัน ครูเน้นการสอนแบบบรรยายการท่องจำ มากกว่าการฝึกให้นักเรียนได้คิด และฝึกปฏิบัติ มีการจัดกิจกรรมที่เน้นความรู้มากกว่าพัฒนากระบวนการคิด มีการวัดและประเมินผลความจำมากกว่าการนำความรู้ไปใช้ ส่วนผลการศึกษาความต้องการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ พบว่า ครูต้องจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เน้นกระบวนการคิดโดยเฉพาะอย่างยิ่งการคิดขั้นสูง ซึ่งได้แก่การคิดวิเคราะห์ ใช้คำถามปลายเปิดเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนได้เกิดทักษะการคิด มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้า รวบรวมความรู้ด้วยตัวเอง และสามารถสรุปองค์ความรู้ได้ รวมทั้งมีการวัดผลประเมินผลอย่างหลากหลายเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาอย่างแท้จริง
2) รูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีชื่อเรียกว่า 4PS Model รูปแบบการจัดการเรียนรู้มี 4 องค์ประกอบ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการจัดการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผล ซึ่งกระบวนการจัดการเรียนรู้มี 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นเตรียมความพร้อม (Preparation of Knowledge :P1) 2) ขั้นนำเสนอบทเรียน (Presentation and Learning Task :P2) 3) ขั้นดำเนินกิจกรรมโดยใช้ผังกราฟิก (Procedures :P3) 4) ขั้นนำเสนอและแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยใช้ผังกราฟิก (Presentation and Ideas Sharing :P4) 5) ขั้นสรุปบทเรียน (Summary :S) และรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชา สังคมศึกษา ส31101 โดยใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ร่วมกับรูปแบบการสอนโดยใช้ผังกราฟิก เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.68 /81.25 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 80/80
3) ผลการทดลองใช้รูปแบบ พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้รูปแบบการจัด การเรียนรู้ วิชา สังคมศึกษา ส31101 โดยใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ร่วมกับรูปแบบการสอนโดยใช้ ผังกราฟิกหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีผลการวัดการคิดวิเคราะห์โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ วิชา สังคมศึกษา ส31101 โดยใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับรูปแบบการสอนโดยใช้ผังกราฟิก หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4) ผลการประเมินรูปแบบ พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ วิชา สังคมศึกษา ส31101 โดยใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ร่วมกับรูปแบบการสอนโดยใช้ผังกราฟิก เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.65)