รายงานเอกสารประกอบการเรียนเรื่องนาฏศิลป์สร้างสรรค์ ระบำตรีลีลาฯ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ : สาระนาฏศิลป์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้ทำการศึกษา นางสาว วรกานดา ก่อประเสริฐ
ตำแหน่ง ครูวิทยฐานะครูชำนาญการ
โรงเรียนเทศบาล 4 (บ้านศาลากันตง) จังหวัดสตูล
ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
รายงานการพัฒนาเอกสารประกอบการเรียนเรื่อง นาฏศิลป์สร้างสรรค์ ระบำตรีลีลานครามัมบังสโตย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ : สาระนาฏศิลป์ ปีการศึกษา 2559
โรงเรียเทศบาล 4 (บ้านศาลากันตง)จังหวัดสตูล มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาเอกสารประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ : สาระนาฏศิลป์ สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ : สาระนาฏศิลป์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ : สาระนาฏศิลป์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนเทศบาล 4(บ้านศาลากันตง) สังกัดสำนักงานเทศบาลเมืองสตูล จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 27 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) เอกสารประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ : สาระนาฏศิลป์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 5 เล่ม 2) แผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ : สาระนาฏศิลป์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 18 แผน แผนละ 1 ชั่วโมง 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ : สาระนาฏศิลป์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 แบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 4) แบบวัดทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ เรื่อง นาฏศิลป์สร้างสรรค์ ระบำตรีลีลานครามัมบังสโตย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ : สาระนาฏศิลป์ จำนวน 5 ฉบับ และ 5) แบบวัดความพึงพอใจที่มีต่อเอกสาร ประกอบการเรียนเรื่อง นาฏศิลป์สร้างสรรค์ ระบำตรีลีลานครามัมบังสโตย จำนวน 5 ฉบับ และ มี 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที่ (t-test)
ผลการศึกษาพบว่า
1. เอกสารประกอบการเรียนเรื่องนาฏศิลป์สร้างสรรค์ ระบำตรีลีลานครามัมบังสโตย
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ : สาระนาฏศิลป์ จำนวน 5 ฉบับ ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.26/81.73 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์กำหนด 80/80
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ด้วยเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง นาฏศิลป์สร้างสรรค์ ระบำตรีลีลานครามัมบังสโตย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ : สาระนาฏศิลป์ จำนวน 5 ฉบับ อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.54, = 0.32 )