รายงานการพัฒนาทักษะพื้นฐานกีฬาเซปักตะกร้อโดยใช้แบบฝึกทักษะพื้นฐา
ผู้รายงาน : นายณัฐพงศ์ เคี่ยมการ
ปีการศึกษา : 2556
บทคัดย่อ
การพัฒนาทักษะพื้นฐานกีฬาเซปักตะกร้อโดยใช้แบบฝึกทักษะพื้นฐานกีฬาเซปักตะกร้อ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านต้นปรง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง มีวัตถุประสงค์ของการศึกษาดังนี้ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะพื้นฐานกีฬาเซปักตะกร้อ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลการทดสอบก่อนและหลังการใช้แบบฝึกทักษะพื้นฐานกีฬาเซปักตะกร้อ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านต้นปรง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการใช้แบบฝึกทักษะพื้นฐานกีฬาเซปักตะกร้อ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านต้นปรง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านต้นปรง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ประถมการศึกษาตรัง เขต 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 3 ห้องเรียน จำนวน 90 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/3 จำนวน 30 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบฝึกทักษะพื้นฐานกีฬาเซปักตะกร้อ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3) ข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4)แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน
ผลการศึกษาโดยสรุปมีดังนี้
จากการศึกษาค้นคว้า เรื่อง การพัฒนาทักษะพื้นฐานกีฬาเซปักตะกร้อโดยใช้แบบฝึกทักษะพื้นฐานกีฬาเซปักตะกร้อ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านต้นปรง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง สรุปผลได้ พบว่า
1. ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะพื้นฐานกีฬาเซปักตะกร้อ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตามเกณฑ์ 80/80 มีค่า 90.14/89.11 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ เป็นไปตามสมมติฐานข้อ 1
2. ผลการเปรียบเทียบผลการทดสอบก่อนและหลังการใช้แบบฝึกทักษะพื้นฐานกีฬาเซปักตะกร้อ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านต้นปรง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง พบว่า ก่อนเรียนมีคะแนนเฉลี่ย ( ) 4.73 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.59 หลังเรียนคะแนนเฉลี่ย ( )13.37 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.07 แสดงว่า หลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะพื้นฐานกีฬาเซปักตะกร้อ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ทำให้นักเรียนมีคะแนนสูงขึ้น ผลการทดสอบที ( t – test ) มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานข้อ 2
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะพื้นฐานกีฬาเซปักตะกร้อ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ค่าเฉลี่ยทุกรายการ เท่ากับ 4.16 ความเหมาะสมอยู่ในระดับ “มาก” ค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ รายการที่ 10 นักเรียนชอบเรียนกีฬาเซปักตะกร้อมากขึ้น ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.37 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานข้อ 3
ผลงานท่านดีเยี่ยมมาก