การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบ CI เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้
เรื่อง อยู่อย่างพอเพียง จึงเพียงพอ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้วิจัย นายธวัชชัย วงค์อุตส่าห์
ปีที่วิจัย ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ แบบ CI เพื่อพัฒนาทักษะการ
เรียนรู้ เรื่อง อยู่อย่างเพียงพอ จึงพอเพียง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และมีดัชนีประสิทธิผล .50 ขึ้นไป 2) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง อยู่อย่างพอเพียง จึงเพียงพอ ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ แบบ CI หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 3) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ CI ที่พัฒนาขึ้น
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 ภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนเทศบาล 3 ยุวบูรณ์บำรุง จังหวัดหนองคาย มีนักเรียนจำนวน 38 คน ซึ่งได้มาโดย การเลือกแบบสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองปฏิบัติ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 12 แผน
2) เครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อนผลการปฏิบัติการสอนของครู ได้แก่ แบบบันทึกเหตุการณ์ขณะทำการสอนของครู แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมการสอนของครู แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมการเรียนของนักเรียน และแบบทดสอบย่อยหลังจากเรียนโดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้และการสอนแบบ CI แต่ละเรื่อง 3) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้ ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ และแบบสอบถามวัดความพึงพอใจของนักเรียน
การวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ซึ่งมีวงจรปฏิบัติการวิจัยทั้งหมด 3 วงจร คือ วงจรปฏิบัติการที่ 1 ประกอบไปด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1–4 วงจรปฏิบัติการที่ 2 ประกอบไปด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5–8 และวงจรปฏิบัติการที่ 3 ประกอบไปด้วย แผนการเรียนรู้ที่ 9–12 และเมื่อสิ้นสุดในแต่ละวงจรผู้วิจัยและผู้ช่วยวิจัยนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และสะท้อนผลการปฏิบัติงานเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอนในวงจรปฏิบัติการต่อไปให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างโดยการทดสอบที (t–test) คำนวณด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์
ผลการวิจัยพบว่า
1. การจัดการเรียนรู้แบบ CI เรื่อง อยู่อย่างพอเพียง จึงเพียงพอ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.56/82.71 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ และมีค่าดัชนีประสิทธิผล
. 50 ขึ้นไป
2. นักเรียนที่เรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ แบบ CI มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียน ครู ผู้บริหาร และผู้ปกครอง มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนรู้แบบ CI
ระดับมากที่สุด ( =4.68 S.D.= 0.95)