โครงงานวิทยาศาสตร์ Squid Mills
ผู้ทำโครงงานวิทยาศาสตร์
1.นายจีรพงษ์ บัวหลวง
2.นายเชาวลิต แพนลา
3.นายธนากร พูลจวง
ครูที่ปรึกษา
1. นายทัชพงษ์ จันทร์ลี
2. นางอโณทัย ลาดเหลา
3. นางนฤมล แตงบุตร
4. นายดนัย เพียรค้า
สถานศึกษา : วิทยาลัยเทคนิคปราจีนบุรี
บทคัดย่อ
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง Squid Mills เป็นการศึกษาที่มีจุดมุ่งหมาย เพื่อออกแบบและสร้าง Squid Mills ศึกษาประสิทธิภาพการนำไปใช้งานของ Squid Mills
จากการศึกษาพบว่าการออกแบบและสร้าง Squid Mills ที่ความสูงฟันเฟืองจากผิว แกนบด 0.3 cm ที่ระยะห่างของแกนบด 1 cm สามารถบดหลอดฟลูออเรสเซนต์ มีขนาดของเศษแก้วที่ผ่านการบด มีพื้นที่เฉลี่ย 10.39 cm2 ส่วนที่ระยะห่างของแกนบด 0.5 cm และ 1.5 cm ไม่สามารถบดหลอดฟลูออเรสเซนต์ และ ที่ระยะห่างของแกนบด 1 cm ที่ขนาดความสูงของฟันเฟืองจากผิวแกนบด ที่ทำให้ขนาดของเศษแก้วที่ผ่าน การบด มีพื้นที่น้อยที่สุด คือ ขนาดความสูงของฟันเฟืองจากผิวแกนบด 0.6 cm มีพื้นที่ของเศษแก้วที่ผ่านการบด 8.47 cm2 รองลงมา ขนาดความสูงของฟันเฟืองจากผิวแกนบด 0.3 cm พื้นที่ของเศษแก้วที่ผ่าน การบด 10.39 cm2 และขนาดความสูงของฟันเฟืองจากผิวแกนบด 0.9 cm ไม่สามารถบดได้ ตามลำดับ และประสิทธิภาพการนำไปใช้งานของ Squid Mills ที่ความสูงของฟันเฟืองจากผิวแกนบด 0.3 cm และความสูงของฟันเฟืองจากผิวแกนบด 0.6 cm ใช้จำนวนรอบในการบดจนหมดหลอดเท่ากัน มากที่สุด คือ หลอดขนาด 40 วัตต์ ใช้จำนวนรอบในการหมุน 11 รอบ รองลงมา หลอดขนาด 36 วัตต์ ใช้จำนวนรอบในการหมุน 10 รอบ หลอดขนาด 18 วัตต์ ใช้จำนวนรอบในการหมุน 5 รอบ ตามลำดับ และผลการตรวจสอบสารปรอทในน้ำที่ผ่านการบด พบว่าน้ำตัวอย่างที่ผ่านการบดมีสารปรอท