การประเมินโครงการบริหารโรงเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาท้องถิ่น(SBMLD)
โรงเรียนเทศบาลวัดเจษฎาราม (เชยวิทยาทาน) สังกัดเทศบาลนครสมุทรสาคร
ชื่อผู้วิจัย นางสาวจำเนียร จูเจริญ
หน่วยงาน โรงเรียนเทศบาลวัดตึกมหาชยาราม
ปีที่พิมพ์เผยแพร่ พ.ศ. 2558
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการบริหารโรงเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาท้องถิ่น(SBMLD) โรงเรียนเทศบาลวัดเจษฎาราม (เชยวิทยาทาน) สังกัดเทศบาลนครสมุทรสาคร มี วัตถุประสงค์ คือ1)เพื่อประเมินบริบท (Context) ของโครงการบริหารโรงเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาท้องถิ่น(SBMLD) โรงเรียนเทศบาลวัดเจษฎาราม (เชยวิทยาทาน) สังกัดเทศบาลนครสมุทรสาคร 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้า (Input) ของโครงการบริหารโรงเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาท้องถิ่น(SBMLD) โรงเรียนเทศบาลวัดเจษฎาราม (เชยวิทยาทาน) สังกัดเทศบาลนครสมุทรสาครในด้านข้อมูลพื้นฐานของครู คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง และนักเรียนเทศบาลวัดเจษฎาราม (เชยวิทยาทาน) สังกัดเทศบาลนครสมุทรสาคร
3) เพื่อประเมินกระบวนการ (Process) ของโครงการบริหารโรงเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาท้องถิ่น(SBMLD) โรงเรียนเทศบาลวัดเจษฎาราม (เชยวิทยาทาน) สังกัดเทศบาลนครสมุทรสาคร โครงการบริหารโรงเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาท้องถิ่น(SBMLD) โรงเรียนเทศบาลวัดเจษฎาราม (เชยวิทยาทาน) สังกัดเทศบาลนครสมุทรสาครในด้านการดำเนินงานตามแผน และการกำกับติดตามผล 4) เพื่อประเมินผลผลิต (Product) โครงการบริหารโรงเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาท้องถิ่น(SBMLD) โรงเรียนเทศบาลวัดเจษฎาราม (เชยวิทยาทาน) สังกัดเทศบาลนครสมุทรสาคร กลุ่มประชากร ประกอบด้วยครูโรงเรียนเทศบาลวัดเจษฎาราม (เชยวิทยาทาน) สังกัดเทศบาลนครสมุทรสาคร จำนวน 35 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนเทศบาลวัดเจษฎาราม (เชยวิทยาทาน) สังกัดเทศบาลนครสมุทรสาคร จำนวน 13 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-มัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 612 คน และผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 – ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน612คนแบบสอบถาม มีทั้งหมดจำนวน 5 ฉบับ ดังนี้ แบบสอบถามใช้ประเมินบริบท (Context Evaluation) สำหรับครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน แบบสอบถามประเมินปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) สำหรับครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน แบบสอบถามประเมินกระบวนการดำเนินโครงการ (Process Evaluation) สำหรับครู และนักเรียน แบ่งออกเป็น 7 ฉบับย่อย แบบสอบถามประเมินผลผลิต (Product Evaluation) สำหรับ ครู คณะกรรมการสถานศึกษาชั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง และนักเรียน แบ่งออกเป็น 5 ฉบับย่อย และแบบสอบถามด้านความพึงพอใจต่อผลผลิตของโครงการบริหารโรงเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาท้องถิ่น(SBMLD) โรงเรียนเทศบาลวัดเจษฎาราม (เชยวิทยาทาน) สังกัดเทศบาลนครสมุทรสาคร ซึ่งผู้ประเมินได้เก็บรวบรวมข้อมูล แบบสอบถามและแบบทดสอบด้วยตนเองทั้งหมด เมื่อได้ข้อมูลครบถ้วนแล้ว นำไปวิเคราะห์ข้อมูลโดย 1. ข้อมูลเชิงคุณภาพและข้อมูลจากการประเมินรายงานโครงการใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) 2. ข้อมูลเชิงปริมาณ วิเคราะห์โดยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สรุปผลการประเมินโครงการได้ดังนี้
ผลการประเมิน
จากการประเมินโครงการบริหารโรงเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาท้องถิ่น(SBMLD) โรงเรียนเทศบาลวัดเจษฎาราม (เชยวิทยาทาน) สังกัดเทศบาลนครสมุทรสาคร ตามความคิดเห็น และการปฏิบัติของ ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียนและผู้ปกครองในด้านบริบทของโครงการ ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ ด้านกระบวนการดำเนินงานของโครงการ และด้านผลผลิตของโครงการ โดยประยุกต์ใช้การประเมินแบบ CIPP Model เป็นกรอบแนวความคิดในการประเมิน สรุปผลได้ดังนี้
1. ด้านบริบท เมื่อพิจารณาในภาพรวม พบว่าครูผู้สอนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนเทศบาลวัดเจษฎาราม (เชยวิทยาทาน) มีความเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของบริบทของโครงการบริหารโรงเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาท้องถิ่น(SBMLD) โรงเรียนเทศบาลวัดเจษฎาราม (เชยวิทยาทาน) สังกัดเทศบาลนครสมุทรสาคร อยู่ในระดับมาก
2. ด้านปัจจัยนำเข้า เมื่อพิจารณาในภาพรวม พบว่า ครูผู้สอนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนเทศบาลวัดเจษฎาราม (เชยวิทยาทาน) มีความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของปัจจัยนำเข้าของโครงการบริหารโรงเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาท้องถิ่น(SBMLD) โรงเรียนเทศบาลวัดเจษฎาราม (เชยวิทยาทาน) สังกัดเทศบาลนครสมุทรสาคร อยู่ในระดับมากและมีความเห็นว่ามีอาคารสถานที่ที่เหมาะสมและเพียงพอต่อการดำเนินงาน สนับสนุนงบประมาณ และช่วยเหลือ ด้านงบประมาณในการดำเนินงาน
3. ด้านกระบวนการ เมื่อพิจารณาในภาพรวมพบว่า ครูและนักเรียน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของกระบวนการของโครงการบริหารโรงเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาท้องถิ่น(SBMLD) โรงเรียนเทศบาลวัดเจษฎาราม (เชยวิทยาทาน) สังกัดเทศบาลนครสมุทรสาคร ว่า มีการวางแผนดำเนิน ดำเนินกิจกรรม จัดกิจกรรมในรูปแบบที่หลากหลายได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ประชาสัมพันธ์โครงการ การดำเนินการเป็นไปตามโครงการที่กำหนด ติดตามประสานงานการจัดกิจกรรม มีการกำกับ ติดตาม ควบคุมการดำเนินงาน ขณะดำเนินงานตามโครงการมีการแก้ไขปรับปรุง กำหนดหลักเกณฑ์และระยะเวลาในการประเมินผลโครงการตามความเหมาะสม ประเมินผลแต่ละกิจกรรมโดยใช้เทคนิคและวิธีการที่หลากหลาย ครบทุกกิจกรรม อย่างเป็นระบบต่อเนื่อง มีการขยายผลการปฏิบัติกิจกรรมสู่ชุมชน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากและเมื่อพิจารณาในแต่ละกิจกรรม
4. ด้านผลผลิต มีการประเมินนักเรียน 2 ด้าน ซึ่งประกอบด้วย 1) การศึกษาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และ 2) ความพึงพอใจต่อโครงการโดย ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียนและผู้ปกครอง เป็นผู้ประเมินอยู่ในระดับมาก