LASTEST NEWS

24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท  24 พ.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 4 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รับสมัครครูอัตราจ้างงานแนะแนว จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567โรงเรียนตากพิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 23 พ.ย.-16 ธ.ค.2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งพี่เลี้ยง 5 อัตรา วุฒิม.3-ปวส.ทุกสาขา เงินเดือน 10,430-13,800 บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ เปิดสอบพนักงานราชการ ตำแหน่งครูผู้สอน 38 อัตรา วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 18,000.-บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567 23 พ.ย. 2567#ไม่ต้องผ่านภาค ก กรมทางหลวงชนบท เปิดสอบพนักงานราชการ 111 อัตรา สมัครออนไลน์ ตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 - 29 พฤศจิกายน 2567 ตลอด 24 ชั่วโมงไม่เว้นวันหยุดราชการ 22 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านผารางวังหม้อ(มิตรประชา) รับสมัครครูผู้สอน วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 5,000 บาท (ห้าพันบาทถ้วน)

รายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการ ตามห

usericon

รายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการ ตามห
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

ชื่อเรื่อง : รายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของโรงเรียนบ้านสันกลาง (ราษฎร์พัฒนา) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2
ชื่อผู้ประเมิน : นายมนตรี นวลจีน
หน่วยงาน : โรงเรียนบ้านสันกลาง (ราษฎร์พัฒนา) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2
ปีที่ประเมิน : ปีการศึกษา 2556

การประเมินโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของโรงเรียนบ้านสันกลาง (ราษฎร์พัฒนา) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมิน โครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของโรงเรียนบ้านสันกลาง (ราษฎร์พัฒนา) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 ในด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต โดยใช้วิธีประเมินตามรูปแบบ CIPP Model ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) ประชากรที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 จำนวน 47 คน ครูและบุคลากร ทางการศึกษา จำนวน 12 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 47 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน ของโรงเรียนบ้านสันกลาง (ราษฎร์พัฒนา) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 ในปีการศึกษา 2556 รวมทั้งสิ้น 113 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 4 ฉบับ ดังนี้ ฉบับที่ 1 ประเมินด้านบริบทและด้านปัจจัยนำเข้า ฉบับที่ 2 ประเมินด้านกระบวนการ ฉบับที่ 3 ประเมินผลผลิตด้านพฤติกรรมของนักเรียน และฉบับที่ 4 ประเมินผลผลิตด้านความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้องที่มีต่อโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของโรงเรียนบ้านสันกลาง (ราษฎร์พัฒนา) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเกณฑ์การประเมินที่กำหนดขึ้นโดยผ่านความเห็นชอบของผู้เชี่ยวชาญและผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ
ผลการประเมินโครงการสามารถสรุปได้ดังนี้
1.    ผลการประเมินด้านบริบท (Context) ของโครงการโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.41) เมื่อพิจารณาตัวชี้วัดมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากและผ่านเกณฑ์ทุกตัวชี้วัด สรุปได้ว่า มีความสอดคล้องกันระหว่างวัตถุประสงค์โครงการ นโยบายของโรงเรียน สภาพปัญหา ความต้องการ การสนับสนุนจากผู้ที่เกี่ยวข้อง ระยะเวลาดำเนินโครงการ และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการ
2.    ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ของโครงการโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.36) เมื่อพิจารณาตัวชี้วัดมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากและผ่านเกณฑ์ทุกตัวชี้วัด สรุปได้ว่า โรงเรียนมีบุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ แผนการดำเนินงาน และกิจกรรมที่มีความเหมาะสมต่อดำเนินโครงการ
3.    ผลการประเมินด้านกระบวนการ (Process) ของโครงการโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.42) เมื่อพิจารณาตัวชี้วัดมีค่าเฉลี่ยระดับมากและผ่านเกณฑ์ทุกตัวชี้วัด สรุปได้ว่า สภาพการดำเนินงานเป็นไปตามแผนงานที่กำหนดไว้ในโครงการ มีการประชาสัมพันธ์ข้อมูลและประสานความร่วมมือระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้อง มีการกำกับ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนมีการแก้ไขปัญหาและสร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานอย่างเหมาะสม
4.    ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product) ของโครงการ พบว่า
4.1    ผลการประเมินด้านพฤติกรรมของนักเรียนหลังการดำเนินโครงการโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.27) เมื่อพิจารณาตัวชี้วัดมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากและผ่านเกณฑ์ทุกด้าน ได้แก่ 1) ด้านรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2) ด้านความซื่อสัตย์สุจริต 3) ด้านมีวินัย 4) ด้านใฝ่เรียนรู้ 5) ด้านอยู่อย่างพอเพียง 6) ด้านมุ่งมั่นในการทำงาน 7) ด้านรักความเป็นไทย และ 8) ด้านมีจิตสาธารณะ สรุปได้ว่า การดำเนินโครงการนี้ของโรงเรียนบ้านสันกลาง (ราษฎร์พัฒนา) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 สามารถพัฒนานักเรียนให้เป็นผู้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
4.2    ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องที่มีต่อโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของโรงเรียนบ้านสันกลาง (ราษฎร์พัฒนา) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.29) เมื่อจำแนกเป็นรายข้อพบว่ามีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกข้อ สรุปได้ว่า ผู้ที่เกี่ยวข้องมีความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการและมีความต้องการให้มีการดำเนินโครงการต่อไป
สรุปได้ว่า การดำเนินโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของโรงเรียนบ้านสันกลาง (ราษฎร์พัฒนา) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 สามารถดำเนินงานจนประสบผลสำเร็จบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ผู้ที่เกี่ยวข้องมีความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการในระดับมากและต้องการให้มีการดำเนินโครงการต่อไปอย่างต่อเนื่อง และเพื่อให้การดำเนินโครงการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น โรงเรียนควรมีการชี้แจงทำความเข้าใจและขอความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง พร้อมกับเปิดโอกาสให้ตัวแทนจากทุกฝ่ายได้มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย วางแผน และดำเนินกิจกรรมร่วมกัน บุคลากรในโรงเรียนควรได้รับการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของตนเองมากขึ้น เช่น เข้ารับการอบรมความรู้หรือศึกษาดูงาน เพื่อนำประสบการณ์ มาปรับใช้ในการจัดกิจกรรมและดำเนินโครงการของโรงเรียน โรงเรียนควรเร่งสร้างภาคีเครือข่ายความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับองค์กรส่วนท้องถิ่น เช่น องค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาล เป็นต้น รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ซึ่งจะช่วยให้ได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณ เพิ่มขึ้น และช่วยให้การดำเนินโครงการเกิดความคล่องตัว ผู้บริหารสถานศึกษาควรสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานแก่นักเรียนและบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน พร้อมทั้งควรกระตุ้นให้นักเรียนและบุคลกรได้ตระหนักถึงความสำคัญของการดำเนินโครงการและเข้ามามีส่วนร่วมในโครงการด้วย ความเต็มใจ ควรมีการแบ่งภาระหน้าที่ความรับผิดชอบในการปฏิบัติงานให้ชัดเจน เพื่อให้ง่ายต่อ การกำกับ ติดตาม และประเมินผล และควรมีการจัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินงานและผลการประเมินโครงการเป็นระยะให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบด้วย จะช่วยให้ผู้ที่เกี่ยวข้องรู้สึกมีส่วนร่วมและเกิดเจตคติที่ดีต่อการดำเนินโครงการมากยิ่งขึ้น

29 ก.ย. 2557 เวลา 18:45 น. 0 2,333
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^