รูปแบบการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมเพื่อมุ่งผลสัมฤทธิ์ของโรงเรียน
ผู้วิจัย นายศรชัย เข้มแข็ง
ปีการศึกษา : 2559
บทคัดย่อ
การศึกษาเรื่องรูปแบบการบริหารงาน“แบบมีส่วนร่วมเพื่อมุ่งผลสัมฤทธิ์”ของโรงเรียนเมืองพัทยา 9 (วัดโพธิสัมพันธ์) เป็นวิธีการบริหารที่เน้นผลงานหรือผลการปฏิบัติ ส่งเสริมให้ผู้บริหาร
เน้นที่ผลผลิตและ ผลลัพธซึ่งรวมกันเป็นผลสัมฤทธิ์ ในการดําเนินงานของสถานศึกษาเป็นสําคัญ
การศึกษาครั้งนี้มี วัตถุประสงค์ 1) เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพของรูปแบบการบริหารงานแบบมีส่วน
ร่วมเพื่อมุ่งผลสัมฤทธิ์ของโรงเรียนเมืองพัทยา 9 (วัดโพธิสัมพันธ์) 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของบุคลากรต่อการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมเพื่อมุ่งผลสัมฤทธิ์ของโรงเรียนเมืองพัทยา 9 (วัดโพธิสัมพันธ์) ผลการศึกษาพบว่า ได้รูปแบบการบริหารงาน“แบบมีส่วนร่วมเพื่อมุ่งผลสัมฤทธิ์”ของโรงเรียน เมืองพัทยา 9 (วัดโพธิสัมพันธ์) มีองค์ประกอบของหลักการบริหารงาน ดังนี้
1. ผู้มีส่วนร่วมโดยตรง คือ ผู้ที่มีหนาที่รับผิดชอบในการตัดสินใจเป็นสําคัญ เช่น ผู้บริหาร หัวหน้าโครงการ ซึ่งตองมีกลยุทธในการสร้างบรรยากาศในองคกรให้เกิดการบริหารแบบมีส่วนร่วม
2. ผู้มีส่วนร่วมโดยอ้อม คือ ผู้ที่ไม่มีสวนในการตัดสินใจในกระบวนการบริหาร แต่เป็น เรื่องของการให้การสนับสนุน ส่งเสริมให้บรรลุเป้าหมาย เช่น ร่วมประชุม สนับสนุนทรัพยากร
3. วิเคราะหสถานภาพโครงการแบบมีส่วนร่วม คือ การวิเคราะหจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และ อุปสรรคของสถานศึกษา หรือของแผนงานโครงการเพื่อการพัฒนา โดยทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเข้ามา มีส่วนร่วม และมีกลไกการควบคุมทิศทางของการดําเนินงานที่แน่นอน
4. วัตถุประสงค์ เป็นเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ของการดําเนินงาน ทั้งในระยะสั้น และระยะยาว
5. ปจจัยนําเข้า คือทรัพยากรต่าง ๆ ที่นํามาใช้ในการดําเนินงานให้สําเร็จตามวัตถุประสงค์
6. กิจกรรม เป็นกระบวนการที่นําปจจัยนําเข้า มาดําเนินการตามแผนงาน/โครงการ
8. ผลผลิต คือ ผลงานของสถานศึกษาที่เกิดจากการดําเนินงาน ตามโครงการโดยตรง
9. ผลลัพธ หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นตามมาที่เกิดจากผลผลิตของการดําเนินงาน
10. ผลสัมฤทธิ์ หมายถึง ผลรวมของผลผลิตและผลลัพธของการดําเนินงาน
11. ประสิทธิภาพ (Efficiency) เป็นการเปรียบเทียบระหว่างปจจัยนําเข้ากับผลผลิต
12. ประสิทธิผล (Effectiveness) เป็นการเปรียบเทียบระหว่างวัตถุประสงค์กับผลสัมฤทธิ์ รูปแบบการบริหารงาน “แบบมีส่วนร่วมเพื่อมุ่งผลสัมฤทธิ์” ของโรงเรียนเมืองพัทยา 9
(วัดโพธิสัมพันธ์) จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานของสถานศึกษาให้สามารถวัดผลงาน
ได้อย่างเป็นรูปธรรมชัดเจน ใช้เป็นเครื่องมือในการติดตามและประเมินความก้าวหน้า และ
ความสําเร็จของงาน ทั้งในระดับแผนงาน/โครงการ/แผนกวิชา/ฝ่าย และงานของสถานศึกษาได้
รวมทั้งใช้ปรับปรุงพัฒนาการปฏิบัติงานของสถานศึกษาและการให้บริการทางการศึกษาได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ สิ่งเหล่านี้เป็นหลักสําคัญของการปฏิรูประบบการทํางานของบุคลากรของสถานศึกษา
ทุกฝ่ายที่ต้องให้ประชาชนและผู้รับบริการทางการศึกษาได้รับประโยชนสูงสุด
จากการศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมเพื่อมุ่งผลสัมฤทธิ์ สรุปผล การนํารูปแบบการบริหารฯ ที่ได้จากการศึกษาไปใช้ในการบริหารโครงการ ผลการประเมิน โครงการโดยใช้รูปแบบการประเมินแบบของซิปป (CIPP Model) ซึ่งประกอบดวยการประเมินด้าน บริบท ปจจัย กระบวนการและผลผลิต พบวา ผลการประเมินทุกโครงการ มีค่าเฉลี่ย = 4.10 และ ค่า S.D. = 0.60 อยูในระดับมาก เมื่อพิจารณาตามรายการประเมิน ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านบริบท มีค่า = 4.20 และค่า S.D.= 0.55 ในระดับมาก ซึ่งการดําเนินงานด้านบริบทหมายถึงด้านนโยบาย หลักการเหตุผล วัตถุประสงค์และเจตนารมณของการดําเนินงานโครงการ อยูในระดับมากทุกโครงการ ซึ่งแสดงให้เห็นวาการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมเพื่อมุ่งผลสัมฤทธิ์ มีประสิทธิภาพ สงผลให้ผู้มีส่วนร่วม ในการดําเนินงานโครงการ ทั้งผู้มีส่วนร่วมโดยตรง คือ ผู้รับผิดชอบโครงการและผู้มีส่วนร่วมโดยออม หมายถึง ผู้เข้าร่วมกิจกรรมโครงการเข้าใจ วัตถุประสงค์และเจตนารมณในการดําเนินงานโครงการ ทําให้ผลสัมฤทธิ์ของโครงการอยูในระดับมากทุกด้าน และสําเร็จตามแผนงานที่ตั้ง ไวทุกโครงการ สวนขอเสนอแนะในการนําสูการปฏิบัติ คือ ด้านการดําเนินงานด้านกระบวนการ หมายถึง การดําเนินงาน ด้านวิธีการขั้นตอน กิจกรรม การประชาสัมพันธและแผนการติดตามประเมินผล อยูในระดับต่ำ มีค่า = 3.98และค่า S.D.= 0.68 ควรปรับปรุง
ความพึงพอใจของบุคลากรที่มีต่อรูปแบบการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมเพื่อมุ่งผลสัมฤทธิ์ มีค่าเฉลี่ย = 4.14และค่า = 0.51ระดับผลการประเมิน อยูในระดับมากเมื่อพิจารณาตาม รายการประเมิน รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านบริบท มีค่า = 4.26และค่า = 0.48 ใน ระดับมาก ซึ่งแสดงวาบุคลากรมีความเข้าใจถึง นโยบาย หลักการเหตุผล วัตถุประสงค์และเจตนารมณ ของการดําเนินงานโครงการ แสดงให้เห็นวา การมีส่วนร่วมในการระดมความคิดเห็นระหว่างผู้ที่มีสวน ร่วมโดยตรงและผู้ที่มีส่วนร่วมโดยออม สงผลให้เกิดความเข้าใจรูจุดมุงหมายในการดําเนินงาน โครงการ สวนรายการประเมินที่มีค่าต่ำสุด คือ ด้านกระบวนการ หมายถึง การดําเนินงานด้าน วิธีการ ขั้นตอน กิจกรรม การประชาสัมพันธและแผนการติดตามประเมินผลมีค่า = 4.03 และค่า = 0.53 อยูในระดับมาก ตองได้รับการปรับปรุง