การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมตามบทบาทหน้าที่ของชุมชนในการจัดการศึก
ของโรงเรียนเทศบาล 5 บ้านกาหยี จังหวัดปัตตานี
ชื่อผู้วิจัย นางสุวภา หมะสะอะ
ปีการศึกษา 2555
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมตามบทบาทหน้าที่ของชุมชนในการจัดการศึกษาของโรงเรียนเทศบาล 5 บ้านกายี จังหวัดปัตตานี 2) ออกแบบและพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมตามบทบาทหน้าที่ของชุมชนในการจัดการศึกษาของโรงเรียนเทศบาล 5 บ้านกายี จังหวัดปัตตานี 3) ดำเนินการทดลองใช้รูปแบบการมีส่วนร่วมตามบทบาทหน้าที่ของชุมชนในการจัดการศึกษาของโรงเรียนเทศบาล 3 บ้านกายี จังหวัดปัตตานี และ 4) การประเมินความพึงพอใจและปรับปรุงแก้ไขการพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมตามบทบาทหน้าที่ของชุมชนในการจัดการศึกษาของโรงเรียนเทศบาล 5 บ้านกายี จังหวัดปัตตานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ครู จำนวน 25 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 14 คน และนักเรียน จำนวน 263 คน รวมทั้งสิ้น 302 คน สุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินความพึงพอใจ และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ทดสอบทีแบบไม่อิสระ และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า
1. การศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมตามบทบาทหน้าที่ของชุมชนในการจัดการศึกษา ของโรงเรียนเทศบาล 5 บ้านกาหยี จังหวัดปัตตานี ปรากฏว่าโรงเรียนได้จัดให้มีการสร้างความร่วมมือกับชุมชนในการพัฒนาการศึกษา ยังไม่พบร่องรอยชัดเจนด้านเอกสารหลักฐานและการสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้อง อีกทั้งชุมชนยังขาดความตระหนักในการเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาทั้งทางตรงและทางอ้อม ควรมีการพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาต่อไป
2. การออกแบบและพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมตามบทบาทหน้าที่ของชุมชนในการจัดการศึกษาของโรงเรียนเทศบาล 5 บ้านกาหยี จังหวัดปัตตานี เป็นรูปแบบและวิธีการที่พัฒนาขึ้นมีชื่อว่า PARD Model นำไปดำเนินการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาปรากฏว่า มีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้
3. การทดลองใช้รูปแบบการมีส่วนร่วมตามบทบาทหน้าที่ของชุมชนในการจัดการศึกษาของโรงเรียนเทศบาล 5 บ้านกาหยี จังหวัดปัตตานี ได้มีการนำรูปแบบการประชุมปรึกษาหารือไปใช้ในการดำเนินงานให้แก่ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และนักเรียน ผลการทดลองใช้อยู่ในระดับมาก ( = 4.23) ผลการพัฒนาอยู่ในระดับมาก ( = 4.27) และผลการเปรียบเทียบการทดลองก่อน – หลังการพัฒนา ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. การประเมินความพึงพอใจและปรับปรุงแก้ไขรูปแบบใช้รูปแบบมีส่วนร่วมตามบทบาทหน้าที่ของชุมชนในการจัดการศึกษาของโรงเรียนเทศบาล 5 บ้านกาหยี จังหวัดปัตตานี ปรากฏว่า ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และนักเรียนมีความพึงพอใจโดยรวม อยู่ในระดับมาก ( = 4.08)