รายงานผลการใช้แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์เรื่อง บทประยุกต์
ผู้ศึกษา นิซูรอยนี โต๊ะตันหยง
หน่วยงาน โรงเรียนบ้านเขาตูม สังกัดกองการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
องค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี
ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่5 โรงเรียนบ้านเขาตูม จังหวัดปัตตานี ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2)หาดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่5 โรงเรียนบ้านเขาตูม จังหวัดปัตตานี 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5 ที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องบทประยุกต์ โรงเรียนบ้านเขาตูม จังหวัดปัตตานี และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์
กลุ่มเป้าหมายในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559โรงเรียนบ้านเขาตูม จำนวน 34 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจงเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่ 1) แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5จำนวน 8 เล่ม 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือกจำนวน 30 ข้อ และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์เรื่อง บทประยุกต์ ผู้ศึกษาค้นคว้าได้ดำเนินการสอนด้วยตนเอง ใช้เวลาทดลองสอนสัปดาห์ละ 4 ครั้ง ครั้งละ 1 ชั่วโมง รวม 18 ชั่วโมง สถิติที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบด้วย t – test
ผลการศึกษาพบว่า
1. แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.79/83.60 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
2. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ มีดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.6540 หรือร้อยละ 65.40
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์เรื่อง บทประยุกต์ มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์เรื่อง บทประยุกต์ มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก