การใช้แบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ และไวยากรณ์ทางภาษาที่เป็นกาลป
ผู้ศึกษา วนิดา ภาคาเนตร ครูชำนาญการ โรงเรียนนครบางยางพิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษามัธยมศึกษา เขต 39
ปีที่ทำการศึกษา 2557
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ และไวยากรณ์ทางภาษาที่เป็นกาลปัจจุบัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
2) หาดัชนีประสิทธิผลทางการเรียนของนักเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ และไวยากรณ์ทางภาษาที่เป็นกาลปัจจุบัน 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน กับ หลังเรียน 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ และไวยากรณ์ทางภาษาที่เป็นกาลปัจจุบัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ห้อง 1 จำนวน 29 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนนครบางยางพิทยาคม เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ มี 4 ชนิด ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน 3 (อ 22101) 2) แบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ และไวยากรณ์ทางภาษาที่เป็นกาลปัจจุบัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 4 เล่ม 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ และไวยากรณ์ทางภาษาที่เป็นกาลปัจจุบัน จำนวน 40 ข้อ ผลการศึกษาปรากฏดังนี้ 1) แบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ และไวยากรณ์ทางภาษาที่เป็นกาลปัจจุบัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 83.81 / 84.93 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/ 80 2) แบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ และไวยากรณ์ทางภาษาที่เป็นกาลปัจจุบัน มีดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.7333 แสดงว่า แบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ และไวยากรณ์ทางภาษาที่เป็นกาลปัจจุบันที่สร้างขึ้น ทำให้นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มสูงขึ้นคิดเป็น ร้อยละ 73.33 3) นักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ และไวยากรณ์ทางภาษาที่เป็นกาลปัจจุบัน มีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่า ก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนนครบางยางพิทยาคม มีความพึงพอใจต่อแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ และไวยากรณ์ทางภาษาที่เป็นกาลปัจจุบัน อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.55 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านทั้ง 4 ด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด 3 ด้าน คือ ด้านเนื้อหาสาระ ด้านกิจกรรมการเรียน และด้านการวัดและประเมินผล ส่วนด้านสื่อการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก