รายงานการใช้ชุดฝึกปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มร่วมมือ STAD เรื่อง Tenses
ชื่อผลงาน รายงานการใช้ชุดฝึกปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง Tenses สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนกีฬาจังหวัดนครศรีธรรมราช
ผู้วิจัย นางสาวสุนิศา จันทร์ยก
ปีการศึกษา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559
รายงานการใช้ชุดฝึกปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง Tenses สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาชุดฝึกปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง Tenses สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของชุดฝึกปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD เรื่อง Tenses สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยชุดฝึกปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง Tenses 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการเรียนด้วยชุดฝึกปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง Tenses กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนกีฬาจังหวัดนครศรีธรรมราช สถาบันการพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จำนวน 36 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ด้วยวิธีการจับสลาก โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 2 ชนิด ได้แก่ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้ชุดฝึกปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง Tenses สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 12 แผน และชุดฝึกปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง Tenses สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 6 ชุด 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง Tenses ซึ่งมีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.21 ถึง 0.78 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.25 ถึง 0.92 และความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.81 และแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดฝึกปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง Tenses ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.21 ถึง 0.64 และความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.84 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ t - test (Dependent Samples)
ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้
1. ชุดฝึกปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD เรื่อง Tenses สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพ 83.19/82.15 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80
2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของชุดฝึกปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD เรื่อง Tenses สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีค่าเท่ากับ 0.54 หรือ คิดเป็นร้อยละ 54.00 แสดงว่าชุดฝึกปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ทำให้นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 54.00
3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ด้วยชุดฝึกปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง Tenses มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05
4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีผลต่อการเรียนด้วยชุดฝึกปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง Tenses สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.34, S.D. = 0.64) ด้านที่มีความพึงพอใจมากที่สุด 3 ลำดับแรก คือ ข้อ 6 ฉันได้มีโอกาสอธิบายและซักถามเพื่อนในกลุ่มทำให้เข้าใจมากขึ้น อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.81, S.D. = 0.40) รองลงมาคือ ข้อ 5 ฉันและเพื่อน ๆ ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ( = 4.75, S.D. = 0.50) อยู่ในระดับมากที่สุด และข้อ 7 เพื่อนในกลุ่มได้ช่วยเหลือซึ่งกันและกันทำให้เกิดความสามัคคี อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.53, S.D. = 0.51) และข้อที่มีความพึงพอใจน้อยที่สุดคือ ข้อ 11 กิจกรรมที่ปฏิบัติเป็นพื้นฐานในการเรียนวิชาอื่น ๆ อยู่ในระดับมาก ( = 3.92, S.D. = 0.65)
สรุปผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าชุดฝึกปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง Tenses สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นสื่อการเรียนรู้ที่เรียนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ทำให้การจัดการเรียนรู้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล สามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้น นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียน ดังนั้นควรส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ หรือระดับชั้นอื่นๆ นำการจัดการเรียนการสอนแบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ไปเป็นนวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาความรู้ ทักษะ เจตคติ และสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนตามเจตนารมณ์ของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ต่อไป