รายงานผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์เพื่อเสริมสร้างทัก
หน่วยงาน : โรงเรียนบ้านตะบิงตีงี สังกัดกองการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม องค์การ
บริหารส่วนจังหวัดปัตตานี
ปีการศึกษา : 2559
บทคัดย่อ
การศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดตามหลัก
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2 โรงเรียนบ้านตะบิงตีงี ครั้งนี้มี
วัตถุประสงค์ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์เพื่อเสริมสร้างทักษะ
การคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดตามหลักปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2 ก่อนและหลังการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการ
เรียนรู้เศรษฐศาสตร์เพอื่ เสริมสร้างทักษะการคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3) เพื่อศึกษา
ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2 ที่มีต่อการเรียนโดยชุดกิจกรรมการเรียนรู้
เศรษฐศาสตร์เพอื่ เสริมสร้างทักษะการคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2 โรงเรียนบ้านตะบิงตีงี ภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2559 จา นวน 19
คน ผ่านการพัฒนาทักษะการคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้
เศรษฐศาสตร์เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ระยะเวลา 22
สัปดาห์ จา นวน 7 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์เพื่อ
เสริมสร้างทักษะการคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง แบบทดสอบวัดทกั ษะการคิดตามหลัก
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ แบบประเมินความพึงพอใจต่อการเรียนโดยชุดกิจกรรมการเรียนรู้
เศรษฐศาสตร์เพอื่ เสริมสร้างทักษะการคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง วิเคราะห์ข้อมูลโดย
หาค่าเฉลี่ย ( X ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และทดสอบค่าที (t - test)
ผลการศึกษา
1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดตามหลักปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียง มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.06/83.03 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กา หนด คือ 80 / 80
2. ทักษะการคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สูงกว่าก่อนเรียน และแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความพึงพอใจต่อการเรียนโดยชุดกิจกรรมการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของนักเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด