การจัดประสบการณ์แบบบูรณาการเสริมด้วยกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
คณิตศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 (อายุ 5-6 ปี)
ชื่อผู้ศึกษา นางนิยม เม้าราษี
หน่วยงาน โรงเรียนเทศบาล 7 รถไฟสงเคราะห์ สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครอุดรธานี
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 (5 – 6 ปี) โดยการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ 3 กิจกรรมหลัก คือกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ กิจกรรมเสริมประสบการณ์ กิจกรรมสร้างสรรค์ ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 ของโรงเรียนเทศบาล 7 (รถไฟสงเคราะห์) สังกัดเทศบาลนครอุดรธานี อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ใช้รูปแบบการวิจัยก่อนการทดลอง (Pre-Experimental Design) แบบกลุ่มเดียว ทดสอบหลังเรียน (One Shot Case Study) กลุ่มเป้าหมาย คือ เด็กชาย หญิงที่มีอายุระหว่าง 5 – 6 ปี ชั้นอนุบาลปีที่ 3 จำนวน 25 คน ผู้ศึกษาได้จัดทำแผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการเสริมด้วยกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ ที่สร้างขึ้น จำนวน 15 แผน คือแผนการจัดประสบการณ์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 สิ่งไม่มีชีวิต มี 5 แผน ดังนี้ แผนที่ 1 ความหมายของสิ่งไม่มีชีวิต แผนที่ 2 ประเภทของสิ่งไม่มีชีวิต แผนที่ 3 ประโยชน์ของสิ่งไม่มีชีวิต แผนที่ 4 การดูแลรักษาสิ่งไม่มีชีวิตที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แผนที่ 5 การใช้น้ำและไฟฟ้าอย่างประหยัด หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เครื่องมือเครื่องใช้ มี 5 แผน ดังนี้ แผนที่ 1 ความหมายของเครื่องมือเครื่องใช้ แผนที่ 2 ประเภทของเครื่องมือเครื่องใช้ แผนที่ 3 ประโยชน์ของเครื่องมือเครื่องใช้ แผนที่ 4 การดูแลรักษาเครื่องมือเครื่องใช้ แผนที่ 5 ความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือเครื่องใช้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 ประสาทสัมผัส มี 5 แผน ดังนี้ แผนที่ 1 ความหมายของประสาทสัมผัสในร่างกาย แผนที่ 2 ประเภทของประสาทสัมผัสในร่างกาย แผนที่ 3 ประโยชน์ของประสาทสัมผัสในร่างกาย แผนที่ 4 การดูแลรักษาประสาทสัมผัสในร่างกาย แผนที่ 5 ความปลอดภัยในการใช้ประสาทสัมผัสในร่างกาย และได้จัดทำแบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล คือค่าเฉลี่ยและร้อยละ
ปรากฏผลการวิเคราะห์ว่าคะแนนทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 (อายุ 5 – 6 ปี) จากการทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 (อายุ 5-6 ปี) จำนวนทั้งหมด 25 คน ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 มีจำนวน 21 คน คิดเป็นร้อยละ 84.00 ของเด็กทั้งหมด ซึ่งผลการพัฒนาสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้