การพัฒนารูปแบบการบริหารการส่งเสริมการอ่านของนักเรียนในสถานศึกษา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2
ผู้วิจัย นายนวรัตน์ ต่วนชะเอม
ปีการศึกษา 2557
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อเพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารการส่งเสริมการอ่านของนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2 การดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการ และแนวทางการบริหารการส่งเสริม การอ่านของนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2 ขั้นตอนที่ 2 การสร้างรูปแบบการบริหารการส่งเสริมการอ่านของนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2 ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการบริหารการส่งเสริมการอ่านของนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2 และขั้นตอนที่ 4 การประเมินรูปแบบการบริหารการส่งเสริมการอ่านของนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2 กลุ่มเป้าหมายในการศึกษา ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 125 คน สำนักงานเขตพื้นที่ศึกษาประถมศึกษาที่มีวิธีการปฏิบัติที่ดี จำนวน 3 แห่ง ผู้ทรงคุณวุฒิที่เข้าร่วมประชุมสนทนากลุ่ม จำนวน 11 คน และผู้บริหารสถานศึกษา ครูวิชาการโรงเรียน และครูผู้รับผิดชอบงานห้องสมุดในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2 ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 125 โรงเรียน รวมทั้งหมดจำนวน 375 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์การอ่าน สังเคราะห์ผลการประชุมผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัด เกี่ยวกับสภาพปัญหาและความต้องการการส่งเสริมการอ่านของนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2 ศึกษาแนวทางในการส่งเสริมการอ่านของนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาที่มีวิธีปฏิบัติที่ดี ยกร่างรูปแบบการบริหารการส่งเสริมการอ่านของนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2 จัดประชุมสนทนากลุ่ม และประเมินรูปแบบการบริหารการส่งเสริมการอ่านของนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย
1. การศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการในการส่งเสริมการอ่านของนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2 สภาพปัญหา 1) นักเรียนปกติชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีผลทดสอบการอ่าน อยู่ในระดับปรับปรุงมากกว่าร้อยละ 9.09 และอยู่ในระดับอ่านไม่ได้และไม่เข้าใจเรื่อง ร้อยละ 9.09 2) นักเรียนปกติชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีผลทดสอบการอ่าน อยู่ในระดับปรับปรุงมากกว่าร้อยละ 5.35 และอยู่ในระดับอ่านไม่ได้และไม่เข้าใจเรื่อง ร้อยละ 10.89 3) ผลการทดสอบ NT ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย อยู่ในระดับพอใช้ 4) ผลการทดสอบ O-net ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย อยู่ในระดับพอใช้ 5) ผลการทดสอบ O-net ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย อยู่ในระดับพอใช้ 6) ขาดแคลนครูวิชาเอกภาษาไทย 7) ขาดสื่อ นวัตกรรมด้านการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย และ 8) ขาดการติดตามและทดสอบการอ่านของนักเรียนอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
ส่วนความต้องการในการส่งเสริมการอ่านของนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2 ดังนี้ 1) ควรจัดอบรมเชิงปฏิบัติการด้านเทคนิคการจัดการเรียนรู้ด้านภาษาไทยและการแก้ปัญหาผู้เรียนที่มีปัญหาด้านการอ่านและการเขียน(ภาษาไทย) 2) สถานศึกษาจัดสรรงบประมาณการจัดกิจกรรมส่งเสริมการรักการอ่านและห้องสมุดมีชีวิต 3) ควรมีการจัดกิจกรรมประกวดการแข่งขันทักษะภาษาไทยระดับเขตพื้นที่การศึกษาเป็นประจำทุกปีการศึกษา 4) สถานศึกษาควรจัดสรรงบประมาณด้านจัดทำสื่อการเรียนรู้ นวัตกรรมและการวิจัยในชั้นเรียน 5) ควรจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย 6) ควรมีการประกวดวิธีการปฏิบัติที่ดีด้านการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย และมีการรวบรวมเพื่อเผยแพร่ด้วย
ผลการศึกษาแนวทางการบริหารการส่งเสริมการอ่านของนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาที่มีวิธีการปฏิบัติที่ดี พบว่า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาดังกล่าว มีการดำเนินงานในรูปแบบของคณะกรรมการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านและห้องสมุดมีชีวิตในระดับเขตพื้นที่การศึกษา และมีกระบวนการบริหาร โดยใช้วงจรคุณภาพอย่างเป็นระบบ และมีการจัดตั้งทีมงานเพื่อทำหน้าที่ยกระดับคุณภาพด้านการอ่านอย่างมีส่วนร่วม มุ่งเน้นไปที่บุคลากรที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ครูผู้สอนและผู้บริหารสถานศึกษา โดยมีการสนับสนุนการดำเนินงาน การสร้างแรงจูงใจในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านการอ่านอย่างเป็นระบบ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การสะท้อนผลการดำเนินงาน และการกำหนดเป้าหมายความสำเร็จอย่างชัดเจน และองค์ประกอบของรูปแบบการบริหารการส่งเสริมการอ่านของนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2 พบว่า ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ คณะกรรมการ กระบวนการ และตัวชี้วัด
2. ผลการสร้างรูปแบบการบริหารการส่งเสริมการอ่านของนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2 พบว่า รูปแบบการบริหารการส่งเสริมการอ่านของนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2 ที่สร้างขึ้น ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) หลักการ ประกอบด้วย 1.1) หลักการมีส่วนร่วม และ 1.2) หลักการเสริมพลังอำนาจ 2) คณะกรรมการและบทบาทหน้าที่ ประกอบด้วย 2.1) คณะกรรมการทีมนำ 2.2) คณะกรรมการทีมทำ 2.3) คณะกรรมการทีมประสาน และ 2.4) คณะกรรมการทีมสนับสนุน 3) กระบวนการบริหาร ประกอบด้วย 3.1) การวางแผนและกำหนดเป้าหมายการอ่าน 3.2) การดำเนินงานส่งเสริมการอ่าน 3.3) การประเมินผลการส่งเสริมการอ่าน 3.4) การให้รางวัลการส่งเสริมการอ่าน 3.5) การปรับปรุงและพัฒนาการส่งเสริมการอ่าน 4) ตัวชี้วัดความสำเร็จการส่งเสริมการอ่าน ประกอบด้วย 4.1) ด้านคุณภาพนักเรียน 4.2) ด้านคุณภาพครูผู้สอน 4.3) ด้านคุณภาพผู้บริหารสถานศึกษา และ 4.4) ด้านคุณภาพสถานศึกษา ซึ่งรูปแบบที่สร้างขึ้นมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด และผู้ทรงคุณวุฒิให้การยอมรับในร่างรูปแบบและได้เสนอแนะให้ปรับเพิ่มรายละเอียดในร่างรูปแบบการบริหารการส่งเสริมการอ่านของนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2 ให้เขียนเป็นแผนภูมิกิจกรรม และปรับปรุงรายละเอียดกิจกรรมในแต่ละกระบวนการบริหารให้ชัดเจนปรับบทบาทที่ซ้ำซ้อน และลดตัวชี้วัดให้สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารการส่งเสริมการอ่านของนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2 พบว่า กลุ่มทดลองมีผลการปฏิบัติตามรูปแบบอยู่ในระดับมาก (=4.42)
4. ผลการประเมินรูปแบบการบริหารการส่งเสริมการอ่านของนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2 ที่พัฒนาขึ้นมีความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (=4.45) และมีประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด (=4.56)
คำสำคัญ รูปแบบการบริหาร การส่งเสริมการอ่าน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา