เผยแพร่ผลงานวิชาการ ผลการพัฒนาชุดฝึกทักษะดนตรีไทย เรื่อง ขลุ่ยหล
รูปแบบที่เน้นทักษะกระบวนการปฏิบัติ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
โรงเรียนดอนชัยวิทยา
ผู้ศึกษา นางเมธิกา รัตนรังษี
สถานศึกษา โรงเรียนดอนชัยวิทยา ตำบลบ้านกาศ อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
สังกัด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 2
ปีการศึกษา 2556
บทคัดย่อ
ผลการพัฒนาชุดฝึกทักษะดนตรีไทย เรื่อง ขลุ่ยหลิบ ประกอบการจัดการเรียนรู้รูปแบบที่เน้นทักษะกระบวนการปฏิบัติสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนดอนชัยวิทยา มีวัตถุประสงค์ของการศึกษา 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของการพัฒนาชุดฝึกทักษะดนตรีไทย เรื่อง ขลุ่ยหลิบ ประกอบ การจัดการเรียนรู้ที่เน้นทักษะกระบวนการปฏิบัติ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการพัฒนาชุดฝึกทักษะดนตรีไทย เรื่อง ขลุ่ยหลิบ ประกอบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นทักษะกระบวนการปฏิบัติ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้ชุดฝึกทักษะดนตรีไทย เรื่อง ขลุ่ยหลิบ ประกอบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นทักษะกระบวนการปฏิบัติ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนดอนชัยวิทยา ตำบลบ้านกาศ อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 17 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ (1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 20 แผน แผนละ 1 ชั่วโมง ใช้เวลาในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 ตั้งแต่วันพุธ ที่ 20 พฤศจิกายน 2556 ถึง วันพุธ ที่ 29 มกราคม 2557 รวมเวลา 20 ชั่วโมง ไม่รวมเวลาทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียน (Pre - test) และหลังเรียน (Post - test) (2) ชุดฝึกทักษะดนตรีไทย เรื่อง ขลุ่ยหลิบ ประกอบการจัดการเรียนรู้รูปแบบที่เน้นทักษะกระบวนการปฏิบัติ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 5 ชุด (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ขลุ่ยหลิบ เป็นแบบปรนัย (Multiple Choices) ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ เป็นแบบทดสอบก่อนเรียน (Pre - test) และหลังเรียน (Post - test) เพื่อใช้เป็นเครื่องมือหาประสิทธิภาพแฃะประสิทธิผลทางการเรียน และ (4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้ชุดฝึกทักษะดนตรีไทย เรื่อง ขลุ่ยหลิบ ประกอบการจัดการเรียนรู้รูปแบบที่เน้นทักษะกระบวนการปฏิบัติ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาปรากฏ ดังนี้
1. การศึกษาประสิทธิภาพของการพัฒนาชุดฝึกทักษะดนตรีไทย เรื่อง ขลุ่ยหลิบ ประกอบ การจัดการเรียนรู้ที่เน้นทักษะกระบวนการปฏิบัติ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 91.11/91.76 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80
2. การศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการพัฒนาชุดฝึกทักษะดนตรีไทย เรื่อง ขลุ่ยหลิบ ประกอบ การจัดการเรียนรู้ที่เน้นทักษะกระบวนการปฏิบัติ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเท่ากับ 0.6934 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าคิดเป็นร้อยละ 69.34
3. การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการใช้ชุดฝึกทักษะดนตรีไทย เรื่อง ขลุ่ยหลิบ ประกอบการจัดการเรียนรู้รูปแบบที่เน้นทักษะกระบวนการปฏิบัติ มีค่าเฉลี่ยรวม เท่ากับ 4.77 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.15 อยู่ในระดับมากที่สุด
โดยสรุป ผลการพัฒนาชุดฝึกทักษะดนตรีไทย เรื่อง ขลุ่ยหลิบ ประกอบการจัดการเรียนรู้รูปแบบที่เน้นทักษะกระบวนการปฏิบัติ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สามารถช่วยให้นักเรียนมีพัฒนาการในการปฏิบัติขลุ่ยหลิบดีขึ้น จึงขอเสนอให้ครูที่สอนวิชาดนตรี ใช้เป็นสื่อหรือนวัตกรรมประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ให้นักเรียนได้มีโอกาสฝึกทักษะปฏิบัติเป็นประจำจะช่วยส่งเสริมกระบวนการปฏิบัติขลุ่ยหลิบได้เป็นอย่างดี