การพัฒนารูปแบบการบริหารเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพในการจัดการเรียนรู้
สู่ศตวรรษที่ 21 ของครูโรงเรียนเทศบาล 1 วัดแก่นเหล็ก (รัตนกะลัสอนุสรณ์)
ชื่อผู้วิจัย : นางรัชนี พันออด
หน่วยงาน : โรงเรียนเทศบาล 1 วัดแก่นเหล็ก (รัตนกะลัสอนุสรณ์) สังกัดกองการศึกษา
เทศบาลเมืองเพชรบุรี
ปีการศึกษา : 2558
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการบริหารเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพในการจัดการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21 ของครูโรงเรียนเทศบาล 1 วัดแก่นเหล็ก (รัตนกะลัสอนุสรณ์)
2 ) ประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพในการจัดการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21 ของครูโรงเรียนเทศบาล 1 วัดแก่นเหล็ก (รัตนกะลัสอนุสรณ์) กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย ได้แก่ ได้แก่ ครู และนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 วัดแก่นเหล็ก (รัตนกะลัสอนุสรณ์) ในปีการศึกษา 2558 จำแนกเป็นครู กลุ่มอ้างอิง จำนวน 4 คน ครูผู้สอนจำนวน 32 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-5จำนวน 79 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2-3 จำนวน 69 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบทดสอบ แบบสอบถาม แบบประเมินและประเด็นการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่า t-test แบบ Dependent และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลวิจัยพบว่า
1) รูปแบบการบริหารมีชื่อว่า ARPDOER Model ประกอบด้วยหลักการ คือ การบริหารงานวิชาการด้านการจัดการเรียนรู้ โดยเน้นการสร้างความตระหนัก และบุคคลอ้างอิงให้ครูคล้อยตามในการปฏิบัติงาน ย่อมทำให้ครูปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียนวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาสมรรถภาพในการจัดการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21 ของครูและยกระดับคุณภาพผู้เรียน กระบวนการ การบริหาร คือ ขั้นตอนที่ 1 สร้างความตระหนัก (Awareness) ขั้นตอนที่ 2 สร้างครูกลุ่มอ้างอิง (Reference Group) ขั้นตอนที่ 3 การวางแผนการดำเนินการพัฒนา (Planning) ขั้นตอนที่ 4 ดำเนินการพัฒนา (Doing) ขั้นตอนที่ 5 การสังเกตและการสะท้อนผล (Observation and Reflection) ขั้นตอนที่ 6 การประเมินผลและปรับปรุง (Evaluation and Development) และขั้นตอนที่ 7 การยกย่องชมเชย (Recognition) โดยมีเงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ ได้แก่ 1) ครูมีความตระหนักในการจัดการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21 2) ครูกลุ่มอ้างอิงจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้และทักษะในการจัดการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21 และเป็นบุคคลที่ครูมีความเชื่อมั่น ศรัทธาในการปฏิบัติงานและการปฏิบัติตน 3) ผู้บริหารจะต้องมีความรู้ความเข้าใจ และมีเจตคติที่ดีต่อการจัดการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21 4) ผู้บริหารจะต้องให้การสนับสนุนส่งเสริมครูกลุ่มอ้างอิงให้มีสมรรถภาพในการส่งเสริมพัฒนาและกำกับติดตามการจัดการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21 ของครู
2) ผลการใช้รูปแบบการบริหารเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพในการจัดการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21 ของครู พบว่าครูมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21 ก่อนและหลังการบริหารตามรูปแบบแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 ครูมีสมรรถภาพในการจัดการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21 ของครูหลังการใช้รูปแบบการบริหารเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพในการจัดการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21 อยู่ในระดับสูง ครูมีความพึงพอใจต่อรูปแบบ การบริหารเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพในการจัดการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21 ของครู อยู่ในระดับมากที่สุด นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21 ของครู ในระดับมากที่สุด และนักเรียนมีผลการเรียนรู้ก่อนและหลังการใช้รูปแบบ การบริหารเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพในการจัดการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21 ของครู แตกต่างกันอย่างมีนัยทางสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยหลังการใช้รูปแบบการบริหาร นักเรียนมีผลการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการบริหาร