รายงานผลการจัดประสบการณ์ด้วยหนังสือภาพคำคล้องจอง เพื่อส่งเสริมท
ผู้รายงาน สรินนา เกษงาม
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาพัฒนาการด้านการอ่านของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 1 และเพื่อเปรียบเทียบทักษะด้านการอ่านของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 1 ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ด้วยหนังสือภาพคำคล้องจอง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เด็กที่มีอายุ 4-5 ปี ที่กำลังเรียนอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 1 ห้อง 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 ของโรงเรียนอนุบาลหล่มเก่า ตำบลหล่มเก่า อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 2 จำนวน 21 คน ชาย 14 คน หญิง 7 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือ ที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ หนังสือภาพคำคล้องจอง จำนวน 15 เล่ม แบบประเมินวัดทักษะด้านการอ่าน เป็นแบบประเมินชนิดเลือกตอบ จำนวน 4 ชุด ชุดละ 5 ข้อ รวม 20 ข้อ และแผนการจัดประสบการณ์ จำนวน 45 แผน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินวัดทักษะด้านการอ่าน ประเมินนักเรียนก่อนการจัดประสบการณ์ด้วยหนังสือภาพคำคล้องจอง ในสัปดาห์ที่ 22 และ หลังการจัดประสบการณ์ด้วยหนังสือภาพคำคล้องจอง ในสัปดาห์ที่ 38 วิเคราะห์ข้อมูลการศึกษาพัฒนาการด้านการอ่านของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 1 โดยนำคะแนนจากการประเมินพฤติกรรมเด็ก ขณะการจัดประสบการณ์ด้วยหนังสือภาพคำคล้องจองแต่ละครั้ง ของแต่ละเล่ม มาวิเคราะห์หาค่าร้อยละ และการเปรียบเทียบทักษะด้านการอ่านของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 1 ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ด้วยหนังสือภาพคำคล้องจอง โดยนำคะแนนจากแบบประเมินวัดทักษะด้านการอ่าน ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ด้วยหนังสือภาพคำคล้องจอง ไปหาค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เพื่อเปรียบเทียบทักษะด้านการอ่านด้วยการทดสอบค่า t (t - test dependent) ผลการศึกษาพบว่า
1. เด็กชั้นอนุบาลปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์ด้วยหนังสือภาพคำคล้องจอง มีพัฒนาการด้านการอ่าน สูงขึ้นตามลำดับทุกสัปดาห์ ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
2. หลังการจัดประสบการณ์ด้วยหนังสือภาพคำคล้องจอง เด็กชั้นอนุบาลปีที่ 1 มีทักษะด้านการอ่าน ทั้งในภาพรวมและรายด้าน ทั้งด้านการจำแนกความเหมือนความต่างของภาพ ด้านการบอกชื่อตัวอักษรหรือการรู้จักตัวอักษร ด้านการอ่านคำศัพท์และการรู้ความหมายของคำและด้านการอ่านออกเสียงตามต้นแบบ สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้