การสร้างและพัฒนาเอกสารประกอบการเรียนชุด งานบ้าน อาหารและโภชนาการ
ผู้วิจัย : นางอภิรดี เศษธนู
ตำแหน่ง : ครู วิทยฐานะชำนาญการ
สังกัด : โรงเรียนบ้านท่าม่วง
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาวสุราษฎร์ธานี เขต 2
ปี : 2559
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและพัฒนาเอกสารประกอบการเรียน ชุด งานบ้าน อาหารและโภชนาการ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานบ้าน) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุด งานบ้าน อาหารและโภชนาการ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานบ้าน) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุด งานบ้าน อาหารและโภชนาการ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานบ้าน) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนบ้านท่าม่วง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขต 2 จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 23 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบก่อน-หลังเรียน เอกสารประกอบการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา ค่าระดับความยาก ค่าอำนาจจำแนก ค่าความเชื่อมั่น การคำนวณหาประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียน ตามเกณฑ์ 80/80 และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างตัวแปรโดยใช้ t-test
ผลการวิจัย พบว่า
1. ประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียน ชุด งานบ้าน อาหารและโภชนาการ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานบ้าน) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เท่ากับ 94.65 / 94.25 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
2. คะแนนทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียน ชุด งานบ้าน อาหารและโภชนาการ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียน ชุด งานบ้าน อาหารและโภชนาการ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานบ้าน) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.65)