เผยแพร่ผลงาน
ชื่อผู้วิจัย : นางจิราวรรณ ศิริสมบัติ
ปีการศึกษา : 2559
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนคำศัพท์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนคำศัพท์ โดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ ชุด Fun with Amazing Vocabulary ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนคำศัพท์ โดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ ชุด Fun with Amazing ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนคำศัพท์ โดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ ชุด Fun with Amazing Vocabulary ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2 ภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนเทศบาลวัดเสมาเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่ายด้วยการจับสลาก (Simple Random Sampling) จำนวน 45 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย รูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนคำศัพท์ โดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ ชุด Fun with Amazing Vocabulary ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 20 แผน 22 ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน จำนวน 40 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที (t-test Dependent Samples) ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนคำศัพท์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่า นักเรียน ผู้ปกครอง และครูผู้สอนมีความเห็นว่า ปัญหาด้านการเรียนภาษาอังกฤษด้านทักษะการเขียนมีปัญหามากที่สุด นักเรียนส่วนใหญ่มีความต้องการสื่อพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะการเขียนมากที่สุด และต้องการสื่อการเรียนรู้ประเภทแบบฝึกทักษะที่มีเนื้อหา/คำศัพท์ใกล้ตัวที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ส่วนครูต้องการปรับรูปแบบการจัดการเรียนรู้ให้หลากหลายน่าสนใจ ใช้สื่อประกอบการสอนที่เหมาะสมกับการพัฒนาทักษะด้านการเขียนของนักเรียน โดยสิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ นักเรียนต้องมีความสนใจในสื่อที่นำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน และกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้ต้องช่วยสร้างความมั่นใจในการเรียนรู้ให้กับนักเรียน เพื่อให้นักเรียนเกิดเจตคติที่ดีและมีความสนใจในเนื้อหาที่เรียนเพิ่มขึ้น
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนคำศัพท์ โดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ ชุด Fun with Amazing Vocabulary ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ 86.04/84.00 ตามเกณฑ์ 80/80
3. ความสามารถในการเขียนคำศัพท์ หลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนคำศัพท์ โดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ ชุด Fun with Amazing Vocabulary ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) สำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนคำศัพท์ โดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ ชุด Fun with Amazing Vocabulary ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) สำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีความพึงพอใจต่อวิชาภาษาอังกฤษในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.72)