การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ระบบคอมพิวเตอร์
วิชา คอมพิวเตอร์และการสื่อสาร โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนหนองทุ่มศรีสำราญวิทยา
ชื่อผู้วิจัย นางกิตติยาภรณ์ สำเภา ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ โรงเรียนหนองทุ่มศรีสำราญวิทยา อำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ
ปีที่วิจัย 2558
บทคัดย่อ
การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ระบบคอมพิวเตอร์ วิชา คอมพิวเตอร์และการสื่อสาร โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนหนองทุ่มศรีสำราญวิทยา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ระบบคอมพิวเตอร์ วิชา คอมพิวเตอร์และการสื่อสาร โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนหนองทุ่มศรีสำราญวิทยา ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ระบบคอมพิวเตอร์ วิชา คอมพิวเตอร์และการสื่อสาร โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนหนองทุ่มศรีสำราญวิทยา 3) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้ด้วยการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ระบบคอมพิวเตอร์ วิชา คอมพิวเตอร์และการสื่อสาร โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนหนองทุ่มศรีสำราญวิทยา 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ระบบคอมพิวเตอร์ วิชา คอมพิวเตอร์และการสื่อสาร โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนหนองทุ่มศรีสำราญวิทยา ซึ่งทำการวิจัยกับกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนหนองทุ่มศรีสำราญวิทยา อำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 30 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ระบบคอมพิวเตอร์ วิชา คอมพิวเตอร์และการสื่อสาร จำนวน 6 เรื่อง 2) แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ระบบคอมพิวเตอร์ วิชา คอมพิวเตอร์และการสื่อสาร โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD จำนวน 6 แผน รวมเวลา 14 ชั่วโมง 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชา คอมพิวเตอร์และการสื่อสาร เรื่อง ระบบคอมพิวเตอร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นแบบปรนัยเลือกตอบ 4 ตัวเลือก มีค่าความยาก 0.33 - 0.58 ค่าอำนาจจำแนก 0.21 - 0.72 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.91 จำนวน 40 ข้อ 4) แบบทดสอบหลังเรียนท้ายบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องละ 10 ข้อ เป็นแบบปรนัยเลือกตอบ 4 ตัวเลือก 5) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ระบบคอมพิวเตอร์ วิชา คอมพิวเตอร์และการสื่อสาร โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบคะแนนทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยการทดสอบค่าที t-test แบบ Dependent Samples
ผลการวิจัยพบว่า
1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ระบบคอมพิวเตอร์ วิชา คอมพิวเตอร์และการสื่อสาร โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนหนองทุ่มศรีสำราญวิทยา มีประสิทธิภาพ 81.94/80.92 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนด
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ระบบคอมพิวเตอร์ วิชา คอมพิวเตอร์และการสื่อสาร โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนหนองทุ่มศรีสำราญวิทยา นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้ด้วยการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ระบบคอมพิวเตอร์ วิชา คอมพิวเตอร์และการสื่อสาร โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนหนองทุ่มศรีสำราญวิทยา มีค่าเท่ากับ 0.6841 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 68.41
4. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ระบบคอมพิวเตอร์ วิชา คอมพิวเตอร์และการสื่อสาร โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนหนองทุ่มศรีสำราญวิทยา พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.60 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.13