การศึกษาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยการจัด
โดยการจัดกิจกรรมเสริมการอ่านภาษาอังกฤษแบบโครงงานของนักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 6
กรุงเทพฯ : โรงเรียนทุ่งมหาเมฆ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านภาษา อังกฤษเพื่อความเข้าใจ เจตคติต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ โดยการจัดกิจกรรมเสริมการอ่านภาษาอังกฤษแบบโครงงาน กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนทุ่งมหาเมฆ สำนักงานเขตพื้นที่การ ศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร ได้จากวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยวิธีการจับฉลาก 1 ห้องเรียน จาก 4 ห้องเรียน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) จำนวน นักเรียน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมเสริมการอ่านภาษาอังกฤษแบบโครงงาน ใช้เวลา 10 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง โดยใช้ชั่วโมงโครงงานและชั่วโมงกิจกรรมรักการอ่าน รวมทั้งหมด 20 ชั่วโมง ตรวจความเหมาะสมโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่านภาษา อังกฤษเพื่อความเข้าใจ ใช้ก่อนและหลังการทดลอง ลักษณะคำถามเป็นแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก โดยมีค่าความยาก ตั้งแต่ 0.30-0.67 และค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.31-0.77 และค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับเท่ากับ .89 แบบสอบถามวัดเจตคติต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ มีลักษณะเป็นมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) ค่าความเชื่อมั่น (Reliability) คือ .88 แบบประเมินคุณภาพโครงงาน มีลักษณะเป็นมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) ค่าความเชื่อมั่น (Reliability) คือ .86 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังทดลองจัดกิจกรรมเสริมการอ่านภาษาอังกฤษแบบโครงงาน สูงกว่า ก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. เจตคติต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังทดลองจัดกิจกรรมเสริมการอ่านภาษาอังกฤษแบบโครงงาน สูงกว่า ก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลัง ทดลอง (ภาคเรียนที่ 2) สูงกว่าก่อนทดลอง (ภาคเรียนที่ 1) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05