การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนการแกะสลักใบไม้วิจืตร
ของนักเรียนโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย (จิรประวัติ) นครสวรรค์
ผู้วิจัย นางสาวมรรยาท ปรีชาชาญ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย (จิรประวัติ) นครสวรรค์
ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนการแกะสลักใบไม้วิจิตรของนักเรียน โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย (จิรประวัติ) นครสวรรค์ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัด การเรียนการสอนการแกะสลักใบไม้วิจิตรของนักเรียน โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย (จิรประวัติ) นครสวรรค์ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอน การแกะสลักใบไม้วิจิตร 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนการสอน การแกะสลักใบไม้วิจิตร กลุ่มประชากรเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนที่เลือกเรียนชุมนุมคหกรรม ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 31 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย รูปแบบการเรียนการสอนการแกะสลักใบไม้วิจิตรของนักเรียนโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย (จิรประวัติ) นครสวรรค์ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนการสอนการแกะสลักใบไม้วิจิตร การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการจัดการเรียนการสอนการแกะสลักใบไม้วิจิตร มีชื่อเรียกว่า PLSPE Model มีองค์ประกอบ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ โครงสร้าง สาระความรู้ และกระบวนการเรียนการสอน โดยกระบวนการเรียนการสอนมี 5 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นเตรียมความพร้อม (Prepare:P) 2) ขั้นเรียนรู้ (Learning:L) 3) ขั้นสรุปสาระสำคัญ (Summary:S) 4) ขั้นปฏิบัติ (Prectice:P) 5) ขั้นวัดและประเมินผล (Evaluation:E) และรูปแบบการจัดการเรียนการสอนการแกะสลักใบไม้วิจิตร มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 82.82/82.09 เมื่อเทียบกับเกณฑ์ 80/80 ปรากฏว่าเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
2. นักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนการแกะสลักใบไม้วิจิตร มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนการแกะสลัก ใบไม้วิจิตรในภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด