การพัฒนารูปแบบการสอนดนตรีโดยใช้แนวคิดจิตตปัญญาร่วมกับทฤษฎีของเดว
เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
ชื่อผู้วิจัย นางสาวสิทธิวรรณ บุญยะมาลิก ตำแหน่งครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนประทาย อำเภอประทาย องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการสอนดนตรีโดยใช้แนวคิดจิตตปัญญาร่วมกับทฤษฎีของเดวีส์
เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับพัฒนารูปแบบการสอนดนตรีโดยใช้แนวคิดจิตตปัญญาร่วมกับทฤษฎีของเดวีส์เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (2) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนดนตรีโดยใช้แนวคิดจิตตปัญญาร่วมกับทฤษฎีของเดวีส์เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการสอนดนตรีโดยใช้แนวคิดจิตตปัญญาร่วมกับทฤษฎีของเดวีส์เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติดนตรีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการสอนดนตรีโดยใช้แนวคิดจิตตปัญญาร่วมกับทฤษฎีของเดวีส์เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติดนตรีของนักเรียนชั้นมัธยม
ศึกษาตอนต้น แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน คือ หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนประทาย การจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ แนวคิดทฤษฏี การสนทนากลุ่มของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะโรงเรียนประทาย แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการสร้างและพัฒนารูปแบบการสอน คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนประทาย แหล่งข้อมูลที่ใช้ในศึกษาผลการทดลองใช้และประเมินรูปแบบการสอน คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนประทาย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ (1) รูปแบบการสอนดนตรีโดยใช้แนวคิดจิตตปัญญาร่วมกับทฤษฎีของเดวีส์เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (2) แผนการจัดการเรียนรู้ ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (4) แบบทดสอบวัดทักษะปฏิบัติของนักเรียนจากการใช้รูปแบบการสอน
(5) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนจากการใช้รูปแบบการสอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) สถิติค่าที (t- test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ข้อมูลพื้นฐานสำหรับรูปแบบการสอนดนตรีโดยใช้แนวคิดจิตตปัญญาร่วมกับทฤษฎีของ
เดวีส์เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มุ่งส่งเสริมให้นักเรียนมีทักษะปฏิบัติทางด้านดนตรี เน้นทักษะกระบวนการเรียนแบบร่วมมือ การส่งเสริมความสามารถที่ได้จากกระบวนการคิด ปรับปรุงและประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ
2. รูปแบบการสอนดนตรีโดยใช้แนวคิดจิตตปัญญาร่วมกับทฤษฎีของเดวีส์เพื่อส่งเสริม
ทักษะปฏิบัติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ
แนวคิด ทฤษฎี วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอน และการวัดและประเมินผล
โดยมีขั้นตอนการเรียนรู้ 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การสร้างความเข้าใจ 2) ลงมือกระทำ
3) นำไปใช้ 4) การประเมินผลและการส่งเสริม เมื่อนำไปทดลองใช้กับนักเรียนแบบภาคสนาม จำนวน 30 คน พบว่ามีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.83/81.56 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการสอนดนตรีโดยใช้แนวคิดจิตตปัญญาร่วมกับ
ทฤษฎีของเดวีส์เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และทักษะปฏิบัติหลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนจากการใช้รูปแบบการสอนดนตรีโดยใช้แนวคิด
จิตตปัญญาร่วมกับทฤษฎีของเดวีส์เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก