การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร
ชื่อเรื่อง : การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง เซต ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่ม ร่วมมือแบบ STAD
ผู้วิจัย : สุดชดาวรรณ จำปาทอง
หน่วยงาน : โรงเรียนเมืองเตาวิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง เซต ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือแบบ STAD ที่มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ 75 / 75 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง เซต ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือแบบ STAD 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือแบบ แบบ STAD เรื่อง เซต ก่อนเรียนและหลังเรียน และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือแบบ แบบ STAD เรื่อง เซต กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ สมมุติฐานของการวิจัย คือ นักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือแบบ STAD เรื่อง เซต มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเมืองเตาวิทยาคม อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 60 คน จาก 2 ห้องเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนเมืองเตาวิทยาคม อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 32 คน จาก 1 ห้องเรียน ซึ่งเป็นห้องเรียนที่มีนักเรียนแบบคละความสามารถ ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้แบ่งออกเป็นดังนี้ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ รูปแบบ STAD เรื่อง เซต กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ ซึ่งมีค่าความยากตั้งแต่ 0.43 -0.73 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.40 - 0.87 ค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้งฉบับมีค่าเท่ากับ 0.95 3) แบบทดสอบย่อยประจำชุดการเรียน จำนวน 13 ฉบับ และ 4) แบบวัดความพึงพอใจต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ โดยใช้ชุดการเรียน เรื่อง เซต กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการประเมินคุณภาพของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เซต กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า โดยภาพรวม ชุดการเรียน มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ มีระดับคุณภาพดีมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.61 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีระดับคุณภาพดีมากในทุกด้าน
2. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง เซต ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือแบบ STAD ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ประสิทธิภาพของกระบวนการ/ ประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E /E ) พบว่า เท่ากับ 84.54/80.52 แสดงว่า แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง เซต ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือแบบ STAD ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ คือ 75/75
3. ดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง เซต ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือแบบ STAD ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าเท่ากับ 0.6612 หมายความว่า แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง เซต ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือแบบ STAD ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นทำให้นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 66.12
4. คะแนนทดสอบหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง เซต ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือแบบ STAD ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น สูงกว่าคะแนนทดสอบก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05
5. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง เซต ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือแบบ STAD ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีระดับความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ย
เท่ากับ 4.38
โดยสรุปแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง เซต ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือแบบ STAD มีประสิทธิภาพ
เหมะสม ทำให้ผู้เรียนเกิดทักษะและความรู้เพิ่มขึ้นสามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพ
การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญได้