การประเมินโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ โรงเรียนกงไกรลาศวิทยา จังหวัด
โรงเรียนกงไกรลาศวิทยา จังหวัดสุโขทัย
ผู้ประเมิน สารัตน์ พวงเงิน รองผู้อำนวยการโรงเรียนกงไกรลาศวิทยา
วิทยฐานะ รองผู้อำนวยการชำนาญการ
ระยะเวลาการประเมินโครงการ ปีการศึกษา 2556
[center][/center]บทคัดย่อ
การประเมินโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ โรงเรียนกงไกรลาศวิทยา จังหวัดสุโขทัย ครั้งนี้ ผู้ประเมินใช้การประเมินรูปแบบซิปป์ (CIPP MODEL) มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินสภาวะแวดล้อม (Context) ปัจจัยเบื้องต้น (Input) กระบวนการ (Process) และผลผลิตของโครงการ (Product) โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 4 คน ครูผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 59 คน คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 7 คน เป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) รวมจำนวน 26 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 291 คน เป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) ตามxxxส่วนนักเรียนตามระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ตามตารางสำเร็จรูปของเครจซีและมอร์แกน (Krejcie and Morgan) รวมจำนวน 361 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามความคิดเห็น ของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียนเกี่ยวกับโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ โรงเรียนกงไกรลาศวิทยา จังหวัดสุโขทัย ในด้านสภาวะแวดล้อม ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการดำเนินงาน และด้านผลผลิต สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูล แล้วนำผลการคำนวณมาแปลความหมายตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
ผลการประเมิน พบว่า
1. การประเมินด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการ (Context Evaluation : C)
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา
ครูผู้รับผิดชอบโครงการ และคณะกรรมการสถานศึกษา พบว่า โดยภาพรวม มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาผลการประเมินโครงการ เป็นรายข้อ พบว่า มีความสอดคล้องเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด 7 ข้อ โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้ดังนี้ โครงการโรงเรียนวิถีพุทธมีความสอดคล้องกับความต้องการจำเป็นของโรงเรียน, โครงการโรงเรียนวิถีพุทธมีความสอดคล้องกับบทบาทและหน้าที่ของโรงเรียน, โครงการโรงเรียนวิถีพุทธมีความสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ, โครงการโรงเรียนวิถีพุทธมีความสอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 38, โครงการโรงเรียนวิถีพุทธมีความสอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, โครงการโรงเรียนวิถีพุทธมีความสอดคล้องกับนโยบายของโรงเรียน และโครงการโรงเรียนวิถีพุทธมีความสอดคล้องกับหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน ตามลำดับ ส่วนข้อที่มีความสอดคล้องเหมาะสม อยู่ในระดับมาก มีจำนวน 3 ข้อ เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้ดังนี้ โครงการโรงเรียนวิถีพุทธมีความสอดคล้องกับเวลาและสถานการณ์ของสังคมในปัจจุบัน, โครงการเหมาะสมกับศักยภาพและทรัพยากรของโรงเรียนและชุมชน และโครงการโรงเรียนวิถีพุทธมีความสอดคล้องกับสภาพของชุมชน ตามลำดับ
2. การประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ (Input Evaluation : I)
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา
ครูผู้รับผิดชอบโครงการ และคณะกรรมการสถานศึกษา พบว่า โดยภาพรวม มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาผลการประเมินโครงการ เป็นรายด้าน พบว่า มีความเหมาะสมเพียงพอ อยู่ในระดับมากทั้ง 4 ด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้ดังนี้ ด้านบุคลากร, ด้านการบริหารจัดการและสนับสนุนของฝ่ายบริหาร, ด้านวัสดุอุปกรณ์และอาคารสถานที่ และด้านงบประมาณ ตามลำดับ
3. การประเมินด้านกระบวนการดำเนินงานของโครงการ (Process Evaluation : P)
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้รับผิดชอบโครงการ และคณะกรรมการสถานศึกษา พบว่า โดยภาพรวม มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก และทุกด้านมีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านการดำเนินการพัฒนาตามระบบไตรสิกขา, ด้านการดูแลสนับสนุนใกล้ชิด, ด้านการวางแผนการดำเนินงาน, ด้านการปรับปรุงพัฒนาต่อเนื่องและเผยแพร่ผลการดำเนินการ ตามลำดับ
4. การประเมินด้านผลผลิตของโครงการ (Product Evaluation : P)
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้รับผิดชอบโครงการ คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองนักเรียน พบว่า ผลการดำเนินการโครงการ ด้านผลผลิตตามโครงการโดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก และทุกด้านมีระดับการปฏิบัติ อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้ดังนี้ การพัฒนาการด้านจิต, การพัฒนาการด้านกาย, การพัฒนาการด้านศีล และการพัฒนาการด้านปัญญา ตามลำดับ