การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ผู้วิจัย นางสาวนิติยา เนียมเงิน
สถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล 5 บ้านห้วยทรายใต้ เทศบาลเมืองชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
ปีที่วิจัย 2555
บทคัดย่อ
การวิจัยการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของครูและผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล 5 บ้านห้วยทรายใต้ จังหวัดเพชรบุรี ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D ) โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของครูและผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล 5 บ้านห้วยทรายใต้ จังหวัดเพชรบุรี 2) เพื่อออกแบบและสร้างรูปแบบ การจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของครูและผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล 5 บ้านห้วยทรายใต้ จังหวัดเพชรบุรี 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงของครูและผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล 5 บ้านห้วยทรายใต้ จังหวัดเพชรบุรี 4) เพื่อประเมินผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของครูและผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล 5 บ้านห้วยทรายใต้ จังหวัดเพชรบุรี กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้หลักการของยามาเน่ (Yamane 1973) ที่มีค่าความคาดเคลื่อนร้อยละ 5 และทำการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) จากประชากรโรงเรียนเทศบาล 5 บ้านห้วยทรายใต้ จังหวัดเพชรบุรี ปีการศึกษา 2555 ประกอบด้วยครูจำนวน 23 คน ผู้เรียนจำนวน 220 คน และผู้ปกครองผู้เรียน จำนวน 220 คน เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วยรูปแบบ การจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของครูและผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล 5 บ้านห้วยทรายใต้ จังหวัดเพชรบุรี การวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง การสนทนากลุ่ม (Focused Group Discussion) เพื่อสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบ การจัดการเรียนรู้การจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของครูและผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล 5 บ้านห้วยทรายใต้ จังหวัดเพชรบุรี แบบประเมินคุณลักษณะความพอเพียง ในการดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของครู และผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล 5 บ้านห้วยทรายใต้ จังหวัดเพชรบุรี และแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการจัด การเรียนรู้การจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของครูและผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล 5 บ้านห้วยทรายใต้ จังหวัดเพชรบุรี การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพการจัดการเรียนรู้ของครูยังไม่มีการบูรณาการกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ขาดการปลูกฝังคุณลักษณะที่พึงประสงค์ เช่น การใฝ่เรียน ใฝ่รู้ การคิดวิเคราะห์ การใช้เหตุผลในการแก้ปัญหา ความมีระเบียบวินัย ความซื่อสัตย์ ไม่สามารถเผชิญและแก้ปัญหา ในชีวิตจริงของตนเองได้
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของครู และผู้เรียนที่สร้างขึ้น ได้รูปแบบที่มีชื่อเรียกว่า “ CPALEPE Model ” ประกอบด้วยการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา (Curriculum : C) การพัฒนาบุคลากร (Personnel : P) การบริหารการศึกษา (Administration : A) การจัดการเรียนการสอน (Learning : L) การประเมินผล (Evaluation : E) การมีส่วนร่วมของชุมชน (Participation : P) การจัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อม (Environment : E) และรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของครูและผู้เรียนโรงเรียนเทศบาล 5 บ้านห้วยทรายใต้ จังหวัดเพชรบุรี มีประสิทธิภาพและความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.54, S.D. = 0.58)
3. หลังจากทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของครูและผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล 5 บ้านห้วยทรายใต้ จังหวัดเพชรบุรี สามารถทำให้ครูและผู้เรียนโรงเรียนเทศบาล 5 บ้านห้วยทรายใต้ เทศบาลเมืองชะอำ จังหวัดเพชรบุรี มีคุณลักษณะความพอเพียงในการดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ในระดับมาก ( = 4.38) และมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงฯ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.54)