การพัฒนากลวิธีการสอนแบบผสมผสานเทคนิค เพื่อส่งเสริมความสามารถด้าน
ชื่อผู้วิจัย : นางรสริน ป้อมสาหร่าย
ตำแหน่ง : ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนเทศบาล 4 (ชุมชนวัดธรรมจักร)
สำนักการศึกษา เทศบาลนครพิษณุโลก
ปีการศึกษา : 2556
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีวัตถุประสงค์
เพื่อ (1) ศึกษาแนวทางการพัฒนากลวิธีการสอนแบบผสมผสานเทคนิค เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนภาษาอังกฤษ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (2) พัฒนากลวิธีการสอนแบบผสมผสานเทคนิค (3) ศึกษาผลการจัดการเรียนการสอนด้วยกลวิธีการสอนแบบผสมผสานเทคนิค (4) ประเมินความสามารถด้านการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน ภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนด้วยการจัดการเรียนการสอนแบบกลวิธีสอนแบบผสมผสานเทคนิค และ (5) ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนการสอนแบบกลวิธีสอนแบบผสมผสานเทคนิค กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล 4 (ชุมชนวัดธรรมจักร) สำนักการศึกษา เทศบาลนครพิษณุโลก ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 29 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยกลวิธีการสอนแบบผสมผสานเทคนิค ประกอบด้วย ชุดการเรียนรู้ 5 หน่วยการเรียนรู้ จำนวน 18 เรื่อง แผนการจัดการเรียนการสอน จำนวน 18 แผน แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนภาษาอังกฤษ แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t-test
ผลการวิจัยพบว่า (1) แนวทางการพัฒนากลวิธีการสอนแบบผสมผสานเทคนิค เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนภาษาอังกฤษ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 คือ การประยุกต์เทคนิคไฟว์ดับเบิ้ลยูวันเอช (5 Ws 1H) เทคนิคผังกราฟิก และหลักการของการเรียนแบบร่วมมือมาจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาความสามารถด้าน การอ่าน คิดวิเคราะห์ ภาษาอังกฤษชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (2) การพัฒนากลวิธีการสอนแบบผสมผสานเทคนิค คือ การจัดการเรียน การสอนแบบผสมผสานตามมาตรฐานการเรียนรู้ กิจกรรม ได้แก่ ชุดการเรียน 5 หน่วยการเรียนรู้ ประกอบด้วย Unit 1 : My Friend, Unit 2 : Going Shopping, Unit 3 : Good Health, Unit 4 : Nature, Unit 5 : The Beautiful World การจัดการเรียน 3 ระยะ ได้แก่ ระยะการเตรียมก่อนการอ่าน ระยะการปฏิบัติกิจกรรมร่วมกันระหว่างการอ่าน และระยะปฏิบัติกิจกรรมหลังการอ่าน โดยกลวิธีการสอนแบบผสมผสานเทคนิคจะดำเนินการใน 3 ระยะของการจัดการเรียนการสอนดังกล่าว หลังจากดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว ผู้วิจัยดำเนินการวัดความสามารถด้านการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนภาษาอังกฤษ 5 ด้าน คือ ด้านการจำแนกแยกแยะ ด้านการจัดหมวดหมู่หรือการจัดกลุ่ม ด้านการบอกความแตกต่าง ด้านการเปรียบเทียบ และด้านการสรุป และตัดสินใจ (3) ประสิทธิภาพของการเรียนการสอนด้วยกลวิธีการสอนแบบผสมผสานเทคนิคมีคุณภาพและประสิทธิภาพ เท่ากับ 81.32/80.68 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด 75/75 (4) นักเรียนมีความสามารถด้านการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน ภาษาอังกฤษ หลังจัดการเรียนการสอนสูงกว่าก่อนเรียน และเกณฑ์มาตรฐานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (t-test =14.11) (5) นักเรียนมีความพึงพอใจหลังจัดการเรียนการสอนด้วยกลวิธีการสอนแบบผสมผสานเทคนิคในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.66)