รายงานการพัฒนาแบบฝึกทักษะประโยคสามัญ ประโยครวม และประโยคซ้อน
รายวิชาภาษาไทย3 รหัสวิชา ท22101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ผู้วิจัย นางสาววีณาพร สาทุม ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
หน่วยงาน โรงเรียนเกษตรสมบูรณ์วิทยาคม อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ
สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ
ปีที่วิจัย 2559
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะ ประโยคสามัญ ประโยครวม และประโยคซ้อน รายวิชาภาษาไทย3 รหัสวิชา ท22101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ความสัมพันธ์ด้านกระบวนการและผลลัพธ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนกับหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะ ประโยคสามัญ ประโยครวม และประโยคซ้อน รายวิชาภาษาไทย3 รหัสวิชา ท22101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะประโยคสามัญ ประโยครวม และประโยคซ้อน รายวิชาภาษาไทย3 รหัสวิชา ท22101 ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2559
โรงเรียนเกษตรสมบูรณ์วิทยาคม อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 40 คน ที่ได้โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Select Sampling) จากนักเรียนที่เรียนรายวิชาภาษาไทย3 รหัสวิชา ท22101
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ประเภท ได้แก่ 1)แบบฝึกทักษะประโยคสามัญ ประโยครวม และประโยคซ้อน 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบ ซึ่งมี 2 ประเภท คือแบบทดสอบย่อย ที่ใช้ทดสอบระหว่างเรียน และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องประโยคสามัญ ประโยครวม และประโยคซ้อน 4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ ประโยคสามัญ ประโยครวม และประโยคซ้อน
การวิจัยครั้งนี้ใช้ รูปแบบการทดลอง One-Group Pretest-Posttest Design โดยผู้วิจัย ได้ทำการทดสอบก่อนเรียน และดำเนินการทดลองสอน แล้วจึงทดสอบหลังเรียน นำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติทดสอบที (t-test) แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test for dependent sample) และให้นักเรียนตอบแบบประเมินความพึงพอใจ แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. แบบฝึกทักษะประโยคสามัญ ประโยครวม และประโยคซ้อน มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ความสัมพันธ์ ด้านกระบวนการและผลลัพธ์ เท่ากับ 85.04/87.42 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องประโยคสามัญ ประโยครวม และประโยคซ้อน หลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (คะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน เท่ากับ 11.68 คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 26.23 , t = 52.93)
3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง ประโยคสามัญ ประโยครวม และประโยคซ้อน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก มีคะแนนเฉลี่ยโดยรวม เท่ากับ (x-bar = 4.38 ,
S.D. = 0.50)