การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการ ทา
ทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
ผู้ศึกษา นางรัชนีย์ บัวนิล
ครู วิทยฐานะครูชำนาญการ โรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด
ปีที่ศึกษา 2557
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ที่ทีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และเพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบโครงการก่อนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ คือ ปฐมวัยชาย – หญิง อายุ 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 2 ห้อง 2/2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด สังกัดเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด มีจำนวน 24 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม(Cluster random sampling) โดยมีเครื่องมือที่ใช้ ในการศึกษาค้นคว้า คือ 1) แผนการจัดประสบการณ์แบบโครงการเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย 2) โครงการ จำนวน 3 โครงการ คือ โครงการข้าวมหัศจรรย์, โครงการมะพร้าวมีประโยชน์ และโครงการผักสวนครัวรั้วกินได้ 3) แบบประเมินวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t – test for Dependent samples
ผลการศึกษา พบว่า
1. แผนการจัดประสบการณ์แบบโครงการ ที่พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 ห้อง 2/2 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 80.86/91.36
2. เด็กปฐมวัยอนุบาลปีที่ 2 ห้อง 2/2 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบโครงการมีการพัฒนา ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 4 ทักษะ ได้แก่ ทักษะการสังเกต , ทักษะการจำแนกประเภท , ทักษะการแสดงปริมาณ, ทักษะการสื่อความหมาย และทักษะการหามิติสัมพันธ์ สูงขึ้น ดังนี้ 1) ระดับทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัดประสบการณ์แบบโครงการโดยมีค่าเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 88.96 เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ทุกด้านมีค่าเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ ดังนี้ ทักษะการสังเกต เท่ากับ 90.28 ทักษะการจำแนกประเภท เท่ากับ 88.33 ทักษะการแสดงปริมาณ เท่ากับ 89.44 ทักษะการสื่อความหมาย เท่ากับ 87.78 และทักษะการหามิติสัมพันธ์ เท่ากับ 85.68
3) การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยอนุบาลปีที่ 2 ห้อง 2/2 หลังได้รับการจัดประสบการณ์แบบโครงการ สูงกว่าก่อนได้รับการจัดประสบการณ์แบบโครงการ โดยก่อนได้รับการจัดประสบการณ์แบบโครงการ มีค่าเฉลี่ยคิดเป็น ร้อยละ 53.33 และหลังได้รับการจัดประสบการณ์แบบโครงการโดยมีค่าเฉลี่ยคิดเป็น ร้อยละ 88.96 มีค่าผลต่างค่าเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ เท่ากับ 35.63