รายงานการใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุด เศรษฐกิจพอเพียง
ศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม 3 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
โรงเรียนฝางชนูปถัมถ์ ปีการศึกษา 2559
ชื่อผู้รายงาน : นายพีรศาสตร์ จินาปุก
บทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเอกสารประกอบการเรียน ชุด เศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 ศึกษา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเมื่อเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียน ชุด เศรษฐกิจพอเพียง และศึกษาความ พึงพอใจ ที่มีต่อเอกสารประกอบการเรียน ชุด เศรษฐกิจพอเพียง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 5 วิชา สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปี การศึกษา 2559 โรงเรียนฝางชนูปถัมภ์ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 30 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย (1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 6 แผน (2) เอกสารประกอบการเรียน ชุด เศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 6 เรื่อง (3) แบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง(4) แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 6 เรื่อง (5) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังจากใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุด เศรษฐกิจพอเพียง ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้
1. หลังจากนักเรียนใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุด เศรษฐกิจพอเพียง ทั้ง 6 เรื่อง ในวิชา สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม 3 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 ผลการศึกษา พบว่า ประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 81.56/81.73 ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่ได้ตั้งไว้ คือ 80/80
2. นักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังจากเรียนด้วยใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุด เศรษฐกิจพอเพียง สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งหมายความว่า เอกสารประกอบการเรียนที่สร้างขึ้นทำให้ผู้เรียน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงที่สูงขึ้น
3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559
ที่มีต่อการใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุด เศรษฐกิจพอเพียง มีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 4.0 – 4.4 และมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานตั้งแต่ 0.61 – 0.91 แสดงว่านักเรียนมีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาในภาพรวมพบว่ามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.19 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.74 แสดงว่านักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุด เศรษฐกิจพอเพียง ในระดับพึงพอใจมาก