การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์
ชื่อผู้ศึกษา นางอนงค์นาฎ พลพิมพ์
ปีการศึกษา 2556
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง พลังงานและไฟฟ้า สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยมีจุดมุ่งหมายเฉพาะดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง พลังงานและไฟฟ้า สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง พลังงานและไฟฟ้า สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง พลังงานและไฟฟ้า และ4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เรื่อง พลังงานและไฟฟ้า โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนเทศบาล ๒ วัดแก้วจันทราราม เทศบาลตำบลโคกสำโรง อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี จำนวน 30 คน ที่ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม ( Cluster Random Sampling ) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ 1) ชุดกิจกรรม การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง พลังงานและไฟฟ้า จำนวน 4 ชุด 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง พลังงานและไฟฟ้า จำนวน 20 ข้อ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง พลังงานและไฟฟ้า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) การวิเคราะห์ข้อมูลร้อยละ (percentage) และการทดสอบที (t-test)
ผลการศึกษาพบว่า
1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง พลังงานและไฟฟ้า สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ 81.11 / 80.00 และค่าดัชนีประสิทธิผล มีค่าเท่ากับ 0.53 แสดงให้เห็นว่า ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง พลังงานและไฟฟ้า สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ทำให้นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 53
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน จากการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง พลังงานและไฟฟ้า มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง พลังงานและไฟฟ้า มีความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้อยู่ในระดับ " มาก " โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.18 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.68