LASTEST NEWS

26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท  24 พ.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 4 ธันวาคม 2567

เผยแพร่ผลงาน

usericon

ชื่อเรื่อง    รายงานการสร้างและพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ เรื่อง เครื่องมือ สารสนเทศ และปฏิสัมพันธ์เชิงภูมิศาสตร์ รายวิชาสังคมศึกษาพื้นฐาน
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
ผู้รายงาน    นางสาวเนตรชนก สารทอง
หน่วยงาน    โรงเรียนนาแกสามัคคีวิทยา ตำบลบ้านแก้ง อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม
ปีที่พิมพ์    พ.ศ. 2559


บทคัดย่อ
        
    จุดประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ เรื่อง เครื่องมือ สารสนเทศ และปฏิสัมพันธ์เชิงภูมิศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลการเรียนรู้ด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ รายวิชาสังคมศึกษาพื้นฐาน เรื่อง เครื่องมือ สารสนเทศ และปฏิสัมพันธ์เชิงภูมิศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ เรื่อง เครื่องมือ สารสนเทศ และปฏิสัมพันธ์เชิงภูมิศาสตร์ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ รายวิชาสังคมศึกษาพื้นฐาน เรื่อง เครื่องมือ สารสนเทศ และปฏิสัมพันธ์เชิงภูมิศาสตร์ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559โรงเรียนนาแกสามัคคีวิทยา อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 จำนวน 8 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 269 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนนาแกสามัคคีวิทยา อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม จำนวน 39 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้คือ 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ เรื่อง เครื่องมือ สารสนเทศ และปฏิสัมพันธ์เชิงภูมิศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 10 ชุด
2) แผนการจัดการเรียนรู้ รายวิชาสังคมศึกษาพื้นฐาน รหัสวิชา ส33101 เรื่อง เครื่องมือ สารสนเทศ และปฏิสัมพันธ์เชิงภูมิศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 15 แผน แผนละ 1-2 ชั่วโมง รวม 21 ชั่วโมง 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ เรื่อง เครื่องมือ สารสนเทศ และปฏิสัมพันธ์เชิงภูมิศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 6 จำนวน 1 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test (Dependent Samples)





    ผลการศึกษาพบว่า
    1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ เรื่อง เครื่องมือ สารสนเทศ และปฏิสัมพันธ์เชิงภูมิศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.81/86.15 ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
    2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้ รายวิชาสังคมศึกษาพื้นฐาน รหัสวิชา ส33101 เรื่อง เครื่องมือ สารสนเทศ และปฏิสัมพันธ์เชิงภูมิศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ มีค่าเท่ากับ 0.81 ซึ่งหมายถึงว่า ผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ ร้อยละ 81
    3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ เรื่อง เครื่องมือ สารสนเทศ และปฏิสัมพันธ์เชิงภูมิศาสตร์ 10 ชุด มีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 8.00 คะแนน คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 25.84 คิดเป็นร้อยละ 86.15 ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05
    4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ เรื่อง เครื่องมือ สารสนเทศ และปฏิสัมพันธ์เชิงภูมิศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.63 ซึ่งอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.54 ซึ่งแสดงว่านักเรียนมีความคิดเห็นสอดคล้องกันค่อนข้างสูง










ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^