พัฒนาชุดกิจกรรม รายวิชา เคมีพื้นฐาน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนตาคงวิทยา รัชมังคลาภิเษก ปีการศึกษา 2559
โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Cycle หรือ 5Es)
ผู้วิจัย นางขนิษฐา ศรีสุวรรณ
ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรม รายวิชา เคมีพื้นฐาน หน่วยการเรียนรู้ ธาตุและสารประกอบ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนตาคงวิทยา รัชมังคลาภิเษก ปีการศึกษา 2559 โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Cycle หรือ 5Es) โดยกาหนดเกณฑ์ประสิทธิภาพไว้ 80/80 (2) เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 รายวิชา เคมีพื้นฐาน หน่วยการเรียนรู้ ธาตุและสารประกอบ โรงเรียนตาคงวิทยา รัชมังคลาภิเษก ด้วยชุดกิจกรรม โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้ แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Cycle หรือ 5Es) (3) เพื่อศึกษาผลการเรียนรู้ รายวิชา เคมีพื้นฐาน หน่วยการเรียนรู้ ธาตุและสารประกอบ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนตาคงวิทยา รัชมังคลาภิเษก ด้วยชุดกิจกรรม โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Cycle หรือ 5Es) ในด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะ/กระบวนการ ทางานกลุ่ม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และความพึงพอใจ
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนตาคงวิทยา รัชมังคลาภิเษก อาเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จานวน 19 คน ได้มาโดยวิธีการเลือก แบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย (1) ชุดกิจกรรม รายวิชา เคมีพื้นฐาน หน่วยการเรียนรู้ ธาตุและสารประกอบ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนตาคงวิทยา รัชมังคลาภิเษก ปีการศึกษา 2559 จานวน 10 เล่ม (2) แผนการจัดการเรียนรู้ ประกอบการใช้ชุดกิจกรรม รายวิชา เคมีพื้นฐาน หน่วยการเรียนรู้ ธาตุและสารประกอบ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนตาคงวิทยา รัชมังคลาภิเษก ปีการศึกษา 2559 โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักร การสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Cycle หรือ 5Es) จานวน 12 แผนการจัดการเรียนรู้ (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จานวน 50 ข้อ (4) แบบประเมินทักษะ/กระบวนการทางานกลุ่ม (5) แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และ (6) แบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยทาการวิเคราะห์โดยการคานวณหาประสิทธิภาพ E1/E2 คะแนนเฉลี่ย ค่าร้อยละส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบโดยใช้ t - test (Dependent Samples)
ผลสรุปพบว่า
1. ชุดกิจกรรม รายวิชา เคมีพื้นฐาน หน่วยการเรียนรู้ ธาตุและสารประกอบ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนตาคงวิทยา รัชมังคลาภิเษก ปีการศึกษา 2559 โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักร การสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Cycle หรือ 5Es) มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 91.05/89.16 ซึ่งถือว่ามีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กาหนดไว้ 80/80
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 รายวิชา เคมีพื้นฐาน
หน่วยการเรียนรู้ ธาตุและสารประกอบ โรงเรียนตาคงวิทยา รัชมังคลาภิเษก ด้วยชุดกิจกรรม โดยใช้
วิธีการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Cycle หรือ 5Es) หลังเรียนสูงกว่า
ก่อนเรียนอย่างนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ศึกษาผลการเรียนรู้ รายวิชา เคมีพื้นฐาน หน่วยการเรียนรู้ ธาตุและสารประกอบ ของ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนตาคงวิทยา รัชมังคลาภิเษก ด้วยชุดกิจกรรม
โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Cycle หรือ 5Es) ในด้าน
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กรณีก่อนเรียน พบว่า ไม่มีนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์
ร้อยละ 80 ของคะแนนเต็ม คิดเป็นร้อยละ 100.00 โดยนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ใน
ระดับต่า ( x = 16.74,S.D = 2.70) และกรณีหลังเรียน พบว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ของคะแนนเต็ม จานวน 19 คน คิดเป็นร้อยละ 100 โดยนักเรียนมี
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในระดับปานกลาง ( x =44.58,S.D = 1.77) ด้านทักษะ/กระบวนการทางานกลุ่ม
พบว่า ในภาพรวม นักเรียนที่มีทักษะ/กระบวนการกลุ่มผ่านเกณฑ์ระดับคุณภาพ 3 ขึ้นไป จานวน 19 คน
คิดเป็นร้อยละ 100.00 โดยนักเรียนมีทักษะ/กระบวนการกลุ่มอยู่ในระดับดีมาก ( x =19.23 ,
S.D.=0.63) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ พบว่า นักเรียนที่มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ผ่านเกณฑ์ระดับ
คุณภาพ 3 ขึ้นไป จานวน 19 คน คิดเป็นร้อยละ 100.00 โดยนักเรียนมีทักษะ/กระบวนการกลุ่ม
อยู่ในระดับดีมาก ( x =19.85 , S.D.= 0.258) และความพึงพอใจ พบว่า นักเรียนที่มีความพึงพอใจ
ผ่านเกณฑ์ ระดับมากค่าเฉลี่ย 3.51 ขึ้นไป จานวน 19 คน คิดเป็นร้อยละ 100 โดยนักเรียนมี
ความพึงพอใจในการเรียนในระดับ มากที่สุด ( x =4.77 , S.D.= 0.425)