รายงานการพัฒนาแบบฝึกทักษะ การพัฒนาเทคนิคการเป่าขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์
ผู้ศึกษา นายชวลิต แดงเพ็ง
หน่วยงาน โรงเรียนบ้านสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2
ปีที่รายงาน 2559
บทคัดย่อ
รายงานการพัฒนาแบบฝึกทักษะการพัฒนาเทคนิคการเป่าขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์ขั้นพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะการพัฒนาเทคนิคการเป่าขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์ขั้นพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะการพัฒนาเทคนิคการเป่าขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์ขั้นพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะการพัฒนาเทคนิคการเป่าขลุ่ย รีคอร์ดเดอร์ขั้นพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนบ้านสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2 จำนวนนักเรียน 45 คน ที่ได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบฝึกทักษะการพัฒนาเทคนิคการเป่าขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์ขั้นพื้นฐาน สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 5 เล่ม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาดนตรี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เป็นแบบทดสอบ ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการพัฒนาเทคนิคการเป่าขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์ขั้นพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที (t)
ผลการศึกษา พบว่า
1. แบบฝึกทักษะการพัฒนาเทคนิคการเป่าขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์ขั้นพื้นฐาน สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 82.11/82.89 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 ที่ตั้งไว้
2. นักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะการพัฒนาเทคนิคการเป่าขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์ขั้นพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการพัฒนาเทคนิคการเป่าขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์ขั้นพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.72 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.42 ระดับความพึงพอใจมากที่สุด