รายงานการพัฒนาเอกสารประกอบการเรียน ชุด การสร้างสื่ออิเล็กทรอนิกส
ผู้ศึกษา นางจิรวรรณ พิมพ์ทวด
หน่วยงาน โรงเรียนไตรมิตรวิทยา
ปีที่พิมพ์ 2559
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเอกสารประกอบการเรียน ชุด การสร้างสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยโปรแกรม FlipAlbum ประกอบการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 85/85 เพื่อศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุด การสร้างสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยโปรแกรม FlipAlbum ประกอบ การเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนรู้โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุด การสร้างสื่ออิเล็กทรอนิกส์
ด้วยโปรแกรม FlipAlbum ประกอบการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ระหว่างก่อนเรียน
กับหลังเรียน และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุด การสร้างสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยโปรแกรม FlipAlbum ประกอบ
การเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD
กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559
โรงเรียนไตรมิตรวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1 จำนวน 15 คน กลุ่มตัวอย่างใช้การเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) การศึกษาครั้งนี้ได้ทดลองกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลอง (The Single Group, Pre-test – Post-test Design)
เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง มี 2 ชนิด ได้แก่ เอกสารประกอบการเรียน ชุด การสร้างสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยโปรแกรม FlipAlbum ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 10 เรื่อง และแผนการจัด
การเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ที่ใช้คู่กับเอกสารประกอบการเรียน ชุด การสร้างสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยโปรแกรม FlipAlbum ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 20 แผน 20 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล มี 2 ชนิด ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก 1 ฉบับ จำนวน 40 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจ ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ 1 ฉบับ จำนวน 10 ข้อ
สถิติพื้นฐานที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้ร้อยละในการทดสอบสมมติฐาน
ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้
1. เอกสารประกอบการเรียน ชุด การสร้างสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยโปรแกรม FlipAlbum รายวิชา คอมพิวเตอร์กราฟิก 1 (ง 23201) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 88.81/86.33
ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 85/85
2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุด การสร้างสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยโปรแกรม FlipAlbum รายวิชา คอมพิวเตอร์กราฟิก 1 (ง 23201) ชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 3 มีค่าเท่ากับ 0.7545 หมายความว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนคิดคิดเป็น
ร้อยละ 75.45
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนรู้โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุด การสร้างสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยโปรแกรม FlipAlbum รายวิชา คอมพิวเตอร์กราฟิก 1 (ง 23201) มีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน เท่ากับ 17.73 และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน เท่ากับ 34.53 โดยมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียน 16.80 มีค่าเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าค่าเฉลี่ย
ก่อนเรียน คิดเป็นร้อยละ 42.00 จึงสรุปว่า เมื่อนักเรียนได้เรียนด้วยการสร้างสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยโปรแกรม FlipAlbum รายวิชา คอมพิวเตอร์กราฟิก 1 (ง 23201) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุด การสร้างสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยโปรแกรม FlipAlbum รายวิชา คอมพิวเตอร์กราฟิก 1 (ง 23201) ประกอบการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.84, S.D. = 0.37) และเมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนรู้โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุด การสร้างสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยโปรแกรม FlipAlbum ประกอบการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD มีความพึงพอใจในระดับ
มากที่สุดทุกข้อ