การจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์จากวัสดุธรรมชาติเพื่อส่งเสริมทักษ
ผู้วิจัย : นางไข่มุก เทพหัสดิน ณ อยุธยา
ตำแหน่ง : ครูชำนาญการ
ปีที่ทำวิจัย : ปีการศึกษา 2554
บทคัดย่อ
การจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์จากวัสดุธรรมชาติเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ตั้งความมุ่งหมายไว้ 1) เพื่อศึกษาผลการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยใช้ประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์จากวัสดุธรรมชาติของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 2) เพื่อเปรียบเทียบผลการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยใช้ประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์จากวัสดุธรรมชาติของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 ก่อนและหลังการทดลองประชากรและกลุมตัวอยางที่ใชในการวิจัย เป็นเด็กปฐมวัย ชาย–หญิง อายุระหว่าง อายุ 3-4 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 1/6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 ของโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน) สังกัดเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง จากนักเรียนทั้งหมด 6 ห้องเรียนเลือกมา 1 ห้องเรียนซึ่งเป็นห้องเรียนที่ผู้วิจัยเป็นครูประจำชั้น โดยทำการทดลอง สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 40 นาทีรวมระยะเวลาในการทดลอง 12 สัปดาห์ รวมทั้งสิ้น 36 ครั้ง
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์จากวัสดุธรรมชาติเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย จำนวน 36 กิจกรรม ใช้เวลาในการจัดกิจกรรมละ 40 นาที และแบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย จำนวน 20 ข้อ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น .95 แบบแผนการวิจัยเป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research) โดยใช้แบบแผนการทดลองแบบทดลองกลุ่มเดียว วัดผลก่อนและหลังการทดลอง (One-Group Pre-test Post-test Design) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลหาค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้ t – test for Dependent samples
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยใช้กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์จากวัสดุธรรมชาติของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 สูงขึ้นกวากอนการจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์จากสื่อวัสดุธรรมชาติ อยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งสอดคล้องกับสมมุติฐานที่ตั้งไว้
2. ผลการจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์จากวัสดุธรรมชาติเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 นักเรียนมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เปลี่ยนแปลงสูงขึ้นทั้งโดยรวมและรายด้าน จากก่อนทดลองอยู่ในระดับปานกลางหลังทดลองอยู่ในระดับมากที่สุด