การพัฒนาชุดกิจกรรมชุมนุมยุวกาชาด ระดับ 4 เพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริ
ชื่อผู้วิจัย นางกัลยาณัฏฐ์ รัตนสิงห์
สังกัด โรงเรียนสีคิ้ว “สวัสดิ์ผดุงวิทยา”
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1)ศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนา คุณธรรมจริยธรรม ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6 (2) สร้างและพัฒนาชุดกิจกรรมชุมนุมยุวกาชาด ระดับ 4 เพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4 – 6 (3) ทดลองใช้ชุดกิจกรรมชุมนุมยุวกาชาด ระดับ 4 เพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6 (4) ประเมินความพึงพอใจที่มีต่อต่อการปฏิบัติกิจกรรมโดยใช้ชุดกิจกรรมชุมนุมยุวกาชาด ระดับ 4 เพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6 แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนา คุณธรรม จริยธรรม ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6 ได้แก่ สมาชิกยุวกาชาด จำนวน 30 คน ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 1 คน และผู้นำสมาชิกยุวกาชาด จำนวน 21 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 52 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เอกสารเกี่ยวกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551เอกสารที่เกี่ยวกับกิจกรรมยุวกาชาด แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการสร้างและพัฒนาชุดกิจกรรมชุมนุม ยุวกาชาด ระดับ 4 เพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมของชุดกิจกรรมชุมนุมยุวกาชาด ระดับ 4 เพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6 ได้มาโดยเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ปีการศึกษา 2555 ที่ใช้ในการทดลองหาประสิทธิภาพรายบุคคล กลุ่มเล็ก และภาคสนาม จำนวนทั้งสิ้น 42 คนแหล่งข้อมูลที่ใช้ในการทดลองใช้ชุดกิจกรรมชุมนุมยุวกาชาด ระดับ 4 เพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6 ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6) ปีการศึกษา 2556 ที่เป็นสมาชิกชุมนุมยุวกาชาดระดับ 4 จำนวน 30 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling) แหล่งข้อมูลที่ใช้ประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการปฏิบัติโดยใช้ชุดกิจกรรมชุมนุมยุวกาชาด ระดับ 4 เพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ระดับชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4-6) ปีการศึกษา 2556ที่เป็นสมาชิกชุมนุมยุวกาชาดระดับ 4 จำนวน 30 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling)และ ผู้นำยุวกาชาดจำนวน 21 คนได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ (1)แบบบันทึกสภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนา คุณธรรมจริยธรรม (2)แบบประเมินความเหมาะสมชุดกิจกรรม (3)ชุดกิจกรรมชุมนุมยุวกาชาด ระดับ 4 เพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6 (4) แบบทดสอบวัดคุณธรรมจริยธรรมจำนวน 50 ข้อ(5) แบบประเมินพฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรมของสมาชิกยุวกาชาดตามความคิดเห็นของผู้นำยุวกาชาด (6)แบบประเมินความพึงพอใจของสมาชิกยุวกาชาดและผู้นำยุวกาชาดที่มีต่อการปฏิบัติโดยใช้ชุดกิจกรรมชุมนุมยุวกาชาด ระดับ 4 เพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
(1) สภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนา คุณธรรมจริยธรรม ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6พบว่า ปัญหาด้านคุณธรรม จริยธรรม ได้แก่ การโกหกหลอกลวง การละเมิดโดยซ่อนเร้นหรือจงใจ การปิดบังเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง การลักขโมย การฉกฉวยโอกาสในแบบที่ไม่ชอบธรรม การไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบ การเอาเปรียบเพื่อนในห้องเรียน ความเห็นแก่ตัว การไม่ได้ใช้ความรู้ความสามารถอย่างเต็มที่ในการปฏิบัติงานและการละเลยความรับผิดชอบในการงานของตนเอง มีพฤติกรรมก้าวก่ายแทรกแซง ไม่ทิ้งเศษขยะลงในถังขยะ ไม่เข้าแถวซื้ออาหารกลางวัน แต่งกายผิดระเบียบ ไม่ตั้งใจเรียน ไม่ส่งงานที่ครูมอบหมาย ไม่ยอมรับความผิด ยืมของเพื่อนแล้วไม่คืน ขโมยของเพื่อนและบุคคลอื่น ลอกการบ้าน กลั่นแกล้งเพื่อนที่อ่อนแอกว่า ไม่ชอบช่วยเหลือผู้อื่น ไม่รู้จักการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ขี้เกียจ ไม่รู้จักการอดออม ขัดคำสั่งสอนของครูและพ่อแม่ ไม่ช่วยเหลืองานบ้านและโรงเรียน ใช้เงินซื้อสิ่งของเกินความจำเป็น ขาดความสนใจใฝ่รู้ต่อสิ่งต่าง ๆ ไม่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่มีน้ำใจ หลีกเลี่ยงการบริจาคทรัพย์ และเวลาเพื่อส่วนรวม หลีกเลี่ยงงานหรือกิจกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์ แนวทางการพัฒนา ได้แก่ ชุดกิจกรรมชุมนุมยุวกาชาด ระดับ 4 เพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6
(2) ผลการสร้างชุดกิจกรรมชุมนุมยุวกาชาด ระดับ 4 เพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6 ที่ใช้ในการวิจัยมีจำนวน 4 ชุด ประกอบด้วยกิจกรรมทั้งหมด 13 กิจกรรม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยรวม 4.82 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานรวม 0.24 และมีประสิทธิภาพเท่ากับ 87.94/93.17ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80
(3) ผลการทดลองใช้ชุดกิจกรรมชุมนุมยุวกาชาด ระดับ 4 เพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6 พบว่า
(3.1) คะแนนคุณธรรมและจริยธรรมหลังใช้ชุดกิจกรรมชุมนุมยุวกาชาด ระดับ 4 เพื่อส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 มีค่าเฉลี่ย ()= 186.33 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน () = 6.77 คะแนนคุณธรรมและจริยธรรมก่อนใช้ชุดกิจกรรมชุมนุมยุวกาชาด ระดับ 4 เพื่อส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 มีค่าเฉลี่ย ()= 141.47 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน() = 8.46 นั่นคือการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมชุมนุมยุวกาชาด ระดับ 4 เพื่อส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6ส่งผลให้สมาชิกยุวกาชาดมีคุณธรรม จริยธรรม หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
(3.2) ผลการประเมินพฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรมของสมาชิกยุวกาชาดตามความคิดเห็นของผู้นำยุวกาชาด โดยภาพรวมทั้ง 4 ชุดกิจกรรม คะแนนเต็ม 975 คะแนน มีคะแนนเฉลี่ย () = 857.40 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน () = 32.02 คิดเป็นร้อยละ 87.94 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดคือร้อยละ 80 และเมื่อพิจารณารายชุดกิจกรรมพบว่าทุกชุดกิจกรรมมีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดคือร้อยละ 80
(4) ผลการประเมินความพึงพอใจของสมาชิกยุวกาชาดที่มีต่อการปฏิบัติกิจกรรมโดยใช้ชุดกิจกรรมชุมนุมยุวกาชาดระดับ 4 เพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.74, = 0.51) และผลการประเมินความพึงพอใจของผู้นำยุวกาชาดที่มีต่อการปฏิบัติกิจกรรมโดยใช้ชุดกิจกรรมชุมนุมยุวกาชาดระดับ 4 เพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด(= 4.86, = 0.35) เช่นเดียวกัน