รายงานการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง รูปสี่เหล
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้รายงาน นายอนุพนธ์ คำหล้า ตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการ
โรงเรียนวังทองวิทยา อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง
ปีการศึกษา 2556
บทคัดย่อ
รายงานการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง รูปสี่เหลี่ยม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สร้างและหาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง รูปสี่เหลี่ยม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง รูปสี่เหลี่ยม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ที่เรียนโดยการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง รูปสี่เหลี่ยม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนวังทองวิทยา อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง จำนวน 7 คน โดยใช้แผนการทดลองแบบศึกษากลุ่มเดียว วัดก่อนและหลังการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ (1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (3) แผนการจัด
การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ และ (4) แบบสำรวจความพึงพอใจของนักเรียนหลังใช้ต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง รูปสี่เหลี่ยม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สถิติที่ใช้ใน
การวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าเฉลี่ยร้อยละ
ผลการศึกษาพบว่า (1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง รูปสี่เหลี่ยม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ผู้รายงานได้สร้างขึ้นในภาพรวมของชุดกิจกรรมทั้ง 17 ชุด มีค่าประสิทธิภาพตามเกณฑ์ (E1/E2) เท่ากับ 82.11/80.48 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80
(2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง รูปสี่เหลี่ยม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 80.48 ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 34.28 พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 46.20 (3) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการเรียนคณิตศาสตร์ด้วย ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง รูปสี่เหลี่ยม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีค่าเฉลี่ย 4.61 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.64 อยู่ในระดับ พอใจมากที่สุด