LASTEST NEWS

26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท  24 พ.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 4 ธันวาคม 2567

การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนประสานมิตรวิทยา สำนักงาน

usericon

ชื่อเรื่อง         การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนประสานมิตรวิทยา
            สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28
ผู้วิจัย        นายบุรินทร์ สุดใจ
ปีที่วิจัย         2560

บทคัดย่อ
    
    การวิจัยเพื่อพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ (1) ศึกษาการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาที่มีการดำเนินงานระบบการประกันคุณภาพภายในได้ดี (2) พัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนประสานมิตรวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 ให้เข้มแข็ง โดยแบ่งการวิจัยออกเป็น 2 ระยะ คือการวิจัยระยะที่ 1 การศึกษาการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาที่มีการดำเนินงานระบบการประกันคุณภาพภายในได้ดี จำนวน 3 แห่ง คือ โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร โรงเรียนวัดอมรินทราราม เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร และโรงเรียนวัดศรีบังวัน อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน โดยวิธีการศึกษาเอกสาร และการวิจัยระยะที่ 2 การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนประสานมิตรวิทยา ตามกรอบภาระงานของกฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2553 8 องค์ประกอบ คือ การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา การจัดระบบบริหารและสารสนเทศ การดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา การติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา การประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา การจัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพภายใน และการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง โดยใช้การวิจัยปฏิบัติการ (Action Research) ตามแนวคิดของ Kemmis และ McTaggart 4 ขั้นตอน คือ การวางแผน (Planning) การปฏิบัติ (Action) การสังเกต (Observation) และการสะท้อนผล (Reflection) ดำเนินการพัฒนาจำนวน 2 วงรอบ กลุ่มผู้ร่วมวิจัยมีจำนวน 6 คน ประกอบด้วย ผู้วิจัย เจ้าหน้าที่งานระบบการประกันคุณภาพภายใน และครูโรงเรียนประสานมิตรวิทยาที่สมัครใจเข้าร่วมจำนวน 4 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 18 คน ประกอบด้วย กลุ่มผู้ร่วมวิจัยจำนวน 6 คน และครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนประสานมิตรวิทยา จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบบันทึกการศึกษาเอกสาร แบบบันทึกการประชุม แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และแบบบันทึกประจำวัน การจัดกระทำและการวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการจัดหมวดหมู่ข้อมูลตามกรอบการวิจัย ศึกษาและทำความเข้าใจข้อมูล (Read and Re-read) และหาความสัมพันธ์ของข้อมูล โดยยึดหลักการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า (Triangulation) และนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้
            ระยะที่ 1 การศึกษาการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาที่มีการดำเนินงานระบบการประกันคุณภาพภายในได้ดี พบว่า สถานศึกษาทั้ง 3 แห่ง มีการดำเนินงานการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในเป็นไปตามกรอบภาระงานที่กำหนดไว้ใน กฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2553 และยึดแนวคิดการพัฒนาเชิงระบบของเดมิ่ง (Plan Do Check Act) เป็นพื้นฐานในการดำเนินงาน
            ระยะที่ 2 การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนประสานมิตรวิทยา พบว่า สภาพก่อนการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในยังไม่เข้มแข็ง การดำเนินงานยังไม่เป็นระบบและไม่ครบตามกรอบภาระงานที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2553 และยังไม่มีคุณภาพเท่าที่ควร หลังจากดำเนินการพัฒนาจำนวน 2 วงรอบ พบว่า การพัฒนาวงรอบที่ 1 โดยภาพรวมระบบการประกันคุณภาพภายในมีความเข้มแข็ง การดำเนินงานสามารถทำได้ครบตามกรอบภาระงานของกฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2553 อย่างเป็นระบบและมีคุณภาพ แต่เมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบ พบว่า มี 2 องค์ประกอบที่ต้องปรับปรุงและพัฒนาประสิทธิภาพและคุณภาพการดำเนินงาน คือ การดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษาและการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา การพัฒนาวงรอบที่ 2 ระบบการประกันคุณภาพภายใน 2 องค์ประกอบที่ต้องปรับปรุงและพัฒนาประสิทธิภาพและคุณภาพการดำเนินงานได้รับการปรับปรุงและพัฒนาโดยการกำหนดขั้นตอนและรายละเอียดการดำเนินงานเพิ่มเติม ทำให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพและคุณภาพมากขึ้น



















ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^